หมาก

หมาก
หมากเป็นพืชที่คู่กับคนไทยมานานแล้ว แม้ในปัจจุบันจะไม่นิยมกินหมากกัน แต่หมากยังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ทั้งในรูปหมากสดและหมากแห้ง หมากแห้งใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ฟอกเส้นใย และทำยารักษา โรค และผลหมากสามารถใช้เป็นยาสมุนไพรในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น ใช้สมานแผล แก้ท้องเสีย รักษาโรคเหงือกและฟัน เป็นต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Areca catechu Linn.
ชื่อสามัญ : Betel nut
แหล่งปลูกที่เหมาะสม
สภาพภูมิอากาศ
หมากเจริญได้ดีในเขตที่มีอากาศอบอุ่นและร้อนชื้น ปริมาณน้ำฝน 1,300-1,500 มม./ปี มีฝนตกกระจายสม่ำเสมอตลอดปี ไม่น้อยกว่า 50 มม./เดือน อุณหภูมิที่เหมาะสม 25-35 องศาเซลเซียส มีแสงแดดมาก อากาศโปร่ง ควรเป็นที่โล่งแจ้ง ที่ระดับความสูง 200-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ลักษณะดิน
เป็นดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียวที่มีการระบายน้ำดี น้ำไม่ขัง มีอินทรียวัตถุสูง
การเพาะกล้า
แปลงเพาะควรเป็นทราย ดินร่วนปนทราย หรือดินผสมขี้เถ้าแกลบ เพื่อไม่ให้น้ำขัง ควรมีการพรางแสง การวางผลหมากควรวางให้นอน หรือขั้วผลอยู่ด้านบน และวางในทิศทางเดียวกันให้เต็มพื้นที่ (ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร สามารถวางได้ 600-700 ผล) จากนั้นจึงกลบด้วยวัสดุเพาะให้มิด รดน้ำให้ชุ่มทุกวันหลังเพาะประมาณ 2 เดือน (เห็นหน่อแทงขึ้นมา) จึงย้ายลงแปลงชำต่อไป
การชำ
ควรชำในถุงพลาสติกดีกว่าชำในแปลงเพราะสะดวกในการย้ายปลูก แต่การชำในถุงพลาสติกจะเสียค่า ใช้จ่ายมากกว่าการชำในแปลง แปลงชำควรเป็นดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี เตรียมแปลงขนาด 1 เมตร มีการพรวนดินก่อนชำ ใช้ระยะปลูก 20x20 ซม. (1 ตร.ม. ชำได้ 25 หน่อ) กลบดินให้มิดผลหมาก และในช่วงแรกต้องพรางแสง แล้วค่อยเพิ่มปริมาณแสงแดด จนหน่อหมากได้รับแสงเต็มที่ ให้น้ำทุก ๆ 1-2 วัน ส่วนการชำในถุงพลาสติกถุงชำที่ใช้มีขนาด 5x7 นิ้ว ดินที่ใช้เป็นดินร่วนผสมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เมื่อต้นกล้ามีอายุ 6-8 เดือน หรือมีใบ 4-6 ใบ จึงจะย้ายปลูก
การปลูก
การเตรียมแปลงปลูก
แปลงปลูกต้องมีการระบายน้ำดี ถ้าเป็นที่มีน้ำขังควรมีการยกร่อง หรือทำทางระบายน้ำ ก่อนปลูกต้องมีการไถและพรวนอย่างน้อย 2 ครั้ง ควรเก็บตอไม้และเศษไม้ออกเพราะเป็นแหล่งอาศัยของศัตรูพืช และปลวก
รูปแบบการปลูก อาจเป็นแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะปลูก 2x2 เมตร การปลูกแบบสี่เหลี่ยม ใช้กล้า 400 ต้น/ไร่ ปลูกแบบสามเหลี่ยมใช้กล้า 461 ต้น/ไร่ แต่ถ้าปลูกบนร่อง จำนวนต้นจะลดลงขึ้นกับระยะระหว่างร่อง การปลูกแบบสี่เหลี่ยมควรทำสันร่องกว้าง 4 เมตร แบบสามเหลี่ยมควรกว้าง 3.50 เมตร ซึ่งจะปลูกได้ 3 แถว/ร่อง
การเตรียมหลุม
ถ้าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำควรขุดหลุม ขนาด 50x50x50 ซม.
แต่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ขนาดหลุมเล็กกว่านี้ได้ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก และหินฟอสเฟต คลุกกับดินชั้นบนแล้วกลบหลุมด้วยดินที่เหลือ
ฤดูปลูก
ควรเป็นต้นฤดูฝน หลังจากที่มีฝนตกหนัก 1-2 ครั้ง
การปลูก
เวลาปลูกควรตั้งต้นกล้าให้ตรง และให้ด้านบนของผลอยู่ระดับผิวดิน กลบดินให้แน่น ปักหลักค้ำต้นเพื่อกันต้นโยก รดน้ำให้ชุ่ม ควรทำร่มบังแดด เพื่อลดการคายน้ำ และป้องกันไม่ให้ใบไหม้
การให้น้ำ
ในหมากเล็กควรให้น้ำ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นหมากโต ตกผลแล้วควรให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง การให้น้ำแต่ละครั้งควรให้ชุ่มทั่วแปลง แต่ถ้าเป็นหมากที่ปลูกโดยการยกร่อง ถ้าระดับน้ำในร่องสวนสูงพอ คือต่ำกว่าสันร่องประมาณ 50 ซม. อาจให้น้ำน้อยกว่าในที่ราบ
การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยที่ให้แก่หมากมี 2 ชนิด คือ
ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสด เป็นต้น ในปีหนึ่ง ๆ ควรใส่ปีละ 1-2 ครั้ง อัตรา 800-5,000
ก.ก./ไร่/ปี
ปุ๋ยเคมี เช่น ปุ๋ยเกรด 13-13-21, 15-15-15, 16-16-16 และ 12-12-17-2 เป็นต้น
อัตราที่ใส่ ขึ้นอยู่กับอายุของหมาก ถ้าเป็นหมากที่ตกผลแล้วควรใช้อัตรา 200-400 กก./ไร่/ปี ใส่ปีละ 2-3 ครั้ง ควรใส่ธาตุโบรอนให้แก่หมากด้วย เช่น สารบอร์แร็ก อัตรา 20-50 กรัม/ต้น/ปี
การคลุมโคน
ในช่วงฤดูแล้ง ควรหาวัสดุ เช่น ฟางข้าว หญ้า ใบหมาก คลุมโคนเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำในดิน และลดการขาขาดน้ำของหมาก
โรคและการป้องกันกำจัด
โรคยอดเน่า
ป้องกันอย่าให้หน่อช้ำเวลาขนย้าย ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราที่มีส่วนประกอบของทองแดง
โรคผลเน่า
เกิดจากเชื้อรา ทำให้ผลเน่าร่วงก่อนที่จะเก็บเกี่ยว พ่นด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อราโรครากและโคนเน่า ป้องกันโดยไม่ควรให้มีน้ำขัง ใช้สารเคมีป้องกันเชื้อราราดลงดิน ขุดและเผาต้นที่เป็นโรค
แมลงและการป้องกันกำจัด
หนอนปลอก
โดยเก็บหนอนมาเผาทำลายหรือใช้สารมาลาไธออน เพลี้ยไฟ ใช้สารเคมีพวกเซฟวิน-85 พ่นให้ทั่วโดยเฉพาะใต้ใบ เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอย ใช้ฟลอราออยล์พ่นไรแดง ใช้สารเคมี เช่น ไมท์แทคไวท์ออย ปลวก ใช้เซฟวิน-85 โรยที่รังปลวกหรือบริเวณโคนต้นหมาก
การปลูกพืชแซม
ปลูกพืชแซมอายุสั้น เช่น พืชผัก ไม้ดอก พลู และพืชไร่ เพื่อใช้ที่ดินให้เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้นและเพิ่มรายได้
การปลูกแทน
หมากเริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4-6 ปี ให้ผลผลิตคงที่จนถึงอายุ 20 ปี จากนั้นผลผลิตจะลดลง ควรปลูกหมากแซมกลางระหว่างต้นเก่า เมื่อหมากใหม่เริ่มให้ผลก็โค่นต้นเก่าออก
การเก็บเกี่ยว
หมากอ่อน เก็บเมื่ออายุประมาณ 1.5 เดือน หลังดอกบาน (200 ผล/1 กก.) ซึ่งมีตลาดเฉพาะ เช่น ไต้หวัน
หมากสด เก็บเมื่ออายุ 3-6 เดือน เปลือกผลมีสีเขียว
หมากแก่ (หมากสง) เก็บเมื่ออายุ 7-9 เดือน
การแปรรูป
หมากซอย
นำหมากดิบ หรือหมากสด เฉาะเอาเนื้อแล้วผ่าเป็น 2 ซีก จากนั้นซอยออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ หนาประมาณ 0.3 ซม. แล้วตากแดดให้แห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากซอย 3-5 กก.
หมากกลีบส้ม
ใช้หมากดิบปอกเอาเนื้อ แล้วผ่าประมาณ 5-7 กลีบ ตากแดดให้แห้ง
หมากเสี้ยว
ใช้หมากดิบผ่าตามยาว 4-5 ชิ้น แล้วนำมาเจียน แกะเอาเนื้อให้ติดเปลือกนอก ตากแดด ให้แห้ง
หมากแว่น
นำหมากสงที่เปลือกมีสีเขียวปนเหลือง เฉาะเปลือกออก แล้วหั่นหรือไสด้วยเครื่องไสหมากให้เป็นแว่น จากนั้นตากแดดให้แห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากแว่น 14-15 กก.
หมากผ่าซีก
ใช้หมากสุก ผ่าตามยาวเป็น 2 ซีก นำไปตากแดด 1 แดด แล้วแกะเนื้อออกจากเปลือก ตากแดดอีก 4-5 แดด จนแห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากแห้ง 15 กก. ส่วนหมากผ่าสี่ และหมากแห้งทั้งเมล็ด ตากแดด 1 แดด แล้วแกะเอาแต่เนื้อเหมือนหมากผ่าซีก
การเก็บรักษาหมากแห้ง
ควรเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด เก็บในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น เมื่อเก็บไว้นาน ๆ ควรนำออกผึ่งแดดเป็นระยะเพื่อไล่ความชื้นที่สะสมอยู่ในภาชนะ
แหล่งที่มา: http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=25

แหล่งที่มา:http://www.rd1677.com/branch.php?id=40942
ตรวจแล้วคะ
จัดรูปแบบการนำเสนอ ให้ดีดีหน่อย จัดแบบนี้ไม่น่าอ่านเลย
เนื้อหามันเยอะมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
เนื้อหาเยอะดี
เนื้อหาเยอะดี
เนื้อหาเยอะดี
เนื้อหาเยอะไปปะ
น่าจะจัดรูปแแบบเนื้อหาให้เหมาะกว่านี้นะ
เนื้อหาเยอะดีค่ะ