ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการผลิตปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์โดยใช้ไส้เดือนดินผู้ประเมินนายณัฐภัทร์ มีมุขหน่วยงานโรงเรียนบ้านคลองสำราญสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ปีที่ศึกษา 2552 บทคัดย่อ การประเมินโครงการผลิตปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์โดยใช้ไส้เดือนดินมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการผลิตปุ๋ยหมักจากอินทรีย์ โดยใช้ไส้เดือนดินในด้านปัจจัยพื้นฐาน ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ผลิตปุ๋ยหมักจากอินทรีย์ โดยใช้ไส้เดือนดิน (context) ด้านกระบวนการปฎิบัติระหว่างการดำเนินโครงการผลิตปุ๋ยหมักจากอินทรีย์ โดยใช้ไส้เดือนดิน (process) และด้านผลผลิตของโครงการผลิตปุ๋ยหมักจากอินทรีย์โดยใช้ไส้เดือนดิน (outcome) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ผู้ให้ข้อมูลคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนบ้านคลองสำราญ ปีการศึกษา 2551 จำนวน 33 คน และผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 33 คน รวมทั้งสิ้น 66 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 – 6 ของโรงเรียนบริบทใกล้เคียง 10 โรงเรียน ปีการศึกษา 2551 จำนวน 140 คน และผู้ปกครองของนักเรียนของโรงเรียนบริบทใกล้เคียง 10 โรงเรียน จำนวน 140 คน รวมทั้งสิ้น 346 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานครั้งนี้เป็นแบบประเมินความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครอง ที่มีต่อโครงการผลิตปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ โดยใช้ไส้เดือนดิน เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะ-แวดล้อมของโครงการ ด้านกระบวนการปฎิบัติ ระหว่างการดำเนินโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการประเมินปัจจัยพื้นฐาน ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ ได้แก่ โรงเรียนสามารถบริหารจัดการโครงการให้บรรลุเป้าหมายของโครงการ และโครงการมีความเหมาะสมกับสภาพชุมชนของนักเรียน สำหรับองค์ประกอบที่มีครูมีความรู้ความสามารถในการสอนเกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยหมักไส้เดือนดิน โครงการฯ ช่วยให้นักเรียนตระหนักในการไม่ใช้สารเคมีในการทำการเกษตร เมื่อนำโครงการผลิตปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ โดยใช้ไส้เดือนดิน ไปจัดในโรงเรียน สามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้อง กับความต้องการของนักเรียนหรือชุมชน นักเรียนรู้ขั้นตอนในการผลิตปุ๋ยหมักไส้เดือนดิน เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบพบว่าผลการประเมินด้านความเป็นไปได้ของโครงการ และด้านวัตถุประสงค์ของโครงการอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะโรงเรียนได้จัดให้มีการเรียนการวิชาการเกษตรอยู่แล้ว ผู้ปกครองและชุมชนมีอาชีพเกษตรกรรม ประกอบกับผู้บริหารสถานศึกษา มีนโยบายในการจัดให้เน้น เรื่องเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้แก่นักเรียนทุกคน ดังนั้น จึงทำให้โครงการนี้สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนและมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ 2. การประเมินด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการในด้านกิจกรรมของโครงการผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบได้แก่ ควรดำเนินโครงการฯ เป็นโครงการหลักของโรงเรียน และสถานศึกษาส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้ การผลิตปุ๋ยหมักโดยใช้ไส้เดือนดิน ไปใช้ในการประกอบอาชีพ รองลงมา คือ โครงการจะนำเป็นไปได้ที่ท่านจะนำเป็นแนวทางในการผลิตปุ๋ยหมักเป็นอาชีพส่งเสริมได้ สามารถดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ ท่านรู้ขั้นตอนผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้เกี่ยวข้อง และคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ โครงการฯ มีประโยชน์ต่อส่วนรวม ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินโครงการ 3. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า ผลการประเมินโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณา เป็นรายองค์ประกอบส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการ โครงการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินนักเรียนมีความเอาใจใส่ต่อการสังเกตการณ์เจริญเติบโต และดูแลไส้เดือนดิน รองลงมา คือ นักเรียนมีความอดทนต่อการทำโรงเรือน บ่อปูนซีเมนต์ การนำเศษอาหารไปให้ไส้เดือนดินกิน และการคัดแยกปุ๋ยหมักไส้เดือนดิน นักเรียนมีการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงาน เกี่ยวกับงานผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน และคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน เช่น นักเรียนรัก และสนใจในการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและคิดที่จะนำไปผลิตใช้กับพืชผักที่บ้านของตน