กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ช่วงชั้นที่่3
4.การปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักสามารถไหลไปตามลำน้ำได้สะดวกหรือช่วยให้กระแสน้ำไหลเร็วยิ่งขึ้น
อันเป็นการบรรเทาความเสียหายจากน้ำท่วมขังได้ วิธีที่ใช้ได้แก่
ขุดลอกลำน้ำตื้นเขินให้น้ำไหลสะดวกขึ้น,ตกแต่งดินตามลาดตลิ่งให้เรียบมิให้เป็นอุปสรรคต่อทางเดินของน้ำ, กำจัดวัชพืชผักตบชวา และรื้อทำลายสิ่งกีดขวางทางน้ำไหลให้ออกไปจนหมดสิ้นหากลำน้ำคดโค้งมากให้หาแนวทางขุดคลองใหม่เป็นลำน้ำสายตรงให้น้ำไหลสะดวก, การก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำเป็นมาตรการป้องกันน้ำท่วมที่สำคัญประการหนึ่งในการกักเก็บน้ำที่ไหลท่วมล้นในฤดูน้ำหลาก โดยเก็บไว้ทางด้านเหนือเขื่อนในลักษณะอ่างเก็บน้ำ
5.การระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองต่างๆ
เพื่อชักน้ำให้มารวมกันแล้วนำมาเก็บไว้เป็นบ่อพักน้ำอันเปรียบได้กับแก้มลิงแล้วจึงระบายน้ำลงทะเลเมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง โดยใช้หลักแรงโน้มถ่วงของโลก สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่แก้มลิงนี้
ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆไหลมาเองตลอดเวลาส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
6.การแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำจืด น้ำเปรี้ยว น้ำเค็มซึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทยก็ประสบกับปัญหาดังกล่าวอันเป็นผลทำให้เกษตรกรรมไม่ได้ผลดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่โดยรอบเขตพรุและที่ใกล้กับเขตดินพรุและที่ใกล้กับเขตดินพรุเช่น บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง และบริเวณลุ่มน้ำบางนรา เป็นต้น
โดยมีหลักการสำคัญให้วางโครงการและก่อสร้างระบบแยกน้ำ 3รส ออกจากกันคือ สร้างระบบป้องกันน้ำเปรี้ยวจากพรุ
ซึ่งทำให้พื้นที่การเกษตรมีสภาพเป็นกรด สร้างระบบป้องกันน้ำเค็มบุกรุกและสร้างระบบส่งน้ำจืดช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรม และเพื่อการอุปโภคบริโภค
http://www.pidthong.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=539191421&Ntype=20
http://www.youtube.com/watch?v=ndfAsTlYab4&feature=related
|
|
 |
|