ผลการใช้ชุดการเรียนเสริมทักษะการอ่านคำพื้นฐานแบบ Phonics กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ชื่อการศึกษา : ผลการพัฒนาทักษะการอ่าน โดยใช้ชุดการเรียนเสริมทักษะการอ่านคำพื้นฐานแบบ Phonics
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้ศึกษา : นางประทินทิพย์ สลีสองสม
ปีการศึกษา : 2555
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาชุดการเรียนเสริมทักษะการอ่านคำพื้นฐานแบบ Phonics สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษด้านการอ่าน
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการใช้ชุดการเรียนเสริมทักษะการอ่านคำพื้นฐานแบบ Phonicsและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
4 ที่มีต่อชุดการเรียนเสริมทักษะการอ่านคำพื้นฐานแบบ
Phonics
ประชากรที่ใช้ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนชุมชนบ้านป่าก่อดำ อำเภอแม่ลาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต
2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในครั้งนี้คือ ชุดการเรียนเสริมทักษะการอ่านคำพื้นฐานแบบ Phonics แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนเสริมทักษะการอ่านคำพื้นฐานแบบ Phonics การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนเสริมทักษะการอ่าน คำพื้นฐานแบบ Phonics ตามเกณฑ์ 80/80 ใช้สูตร
E1 / E2 วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบประเมินความพึงพอใจ ด้วยการหาค่าเฉลี่ย (
) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(
) และร้อยละ
จากผลการศึกษาพบว่า
ชุดการเรียนเสริมทักษะการอ่านคำพื้นฐานแบบ Phonics มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
ที่กำหนดไว้ โดย มีค่า E1 /E2 เท่ากับ 89.45/85.33 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมเสริมการอ่านภาษาอังกฤษ พบว่า ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.47 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 42.67 คะแนนความก้าวหน้ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 23.20 เมื่อเปรียบเทียบค่าร้อยละของคะแนนหลังเรียนกับเกณฑ์การอ่านภาษาอังกฤษที่โรงเรียนกำหนดไว้คือ
ร้อยละ 75 พบว่าค่าเฉลี่ยหลังเรียนร้อยละมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อชุดการเรียนเสริมทักษะการอ่านคำพื้นฐานแบบ
Phonics พบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมีค่าเท่ากับจัดอยู่ในระดับมากที่สุด
เป็นชุดการเรียนที่น่าสนใจมากค่ะ จะลองนำแนวคิดไปใช้กับนักเรียนดูนะคะ