การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ Predict – Observe – Explain (POE)
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ Predict – Observe – Explain (POE) และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เรื่องการดำรงชีวิตของพืชแบบ Predict – Observe – Explain (POE)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) สำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา จำนวน 48 คน ได้รับการสอนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict – Observe – Explain (POE) รูปแบบการวิจัยใช้แบบวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง (one – group pretest posttest Design) เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน เวลา 15 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ ต่อการจัดการเรียนรู้แบบ Predict – Observe – Explain (POE) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D ) และการทดสอบที( t-test-dependent)
ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบ Predict – Observe – Explain (POE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบ Predict – Observe – Explain (POE) อยู่ในระดับมากที่สุด
การจัดการเรียนรู้แบบ Predict – Observe – Explain (POE) เป็นเทคนิคที่น่าสนใจในการนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนดีเยี่ยมค่ะ