รายงานการพัฒนาหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 /สิบโทสมเจนต์ คำจันทน์
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รายวิชาสุขศึกษา สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รายวิชาสุขศึกษา สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านปากห้วยเดื่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ หนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 9 เรื่อง แผนจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ เพื่อการเรียนรู้ ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนก (B) ระหว่าง 0.20-0.67 ค่าความยาก (P) ระหว่าง 0.53 -0.77 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 และ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือเสรอมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ การหาดัชนีประสิทธิผล และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent Samples) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
ผลการวิจัยพบว่า
1. หนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รายวิชาสุขศึกษา สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 87.94/86.19 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รายวิชาสุขศึกษา สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น มีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของหนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รายวิชาสุขศึกษา สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6979 แสดงว่า หลังจากจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รายวิชาสุขศึกษา สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.6979 คิดเป็นร้อยละ 69.79
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รายวิชาสุขศึกษา สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.84