ดอกไม้ในวรรณคดี

ดอกกรรณิการ์
“…กรรณิการ์ ก้านสีแดงสด
คิดผ้าแสดติดขลิบนาง
เห็นเนื้อเรื่อโรงราง
ห่มสองบ่าอ่าโนเน่…”
วรรณคดี : กาพย์ห่อโคลง “นิราศธารโศก”
ผู้ประพันธ์ : เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Nyctanthes arbor – tristis
ชื่อสามัญ : Night Jasmine
ชื่อวงศ์ : Verbenaceae
กรรณิการ์เป็นพุ่มไม้ขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑ - ๒ เมตร ใบสากคาย ขอบใบเป็นจักตื้น ๆ และใบออกทิศทางตรงข้ามกัน
ดอกสีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ลักษณะคล้ายดอกมะลิ แต่มีขนาดกลีบแคบกว่า ปลายกลีบมี ๒ แฉก ขนาดไม่เท่ากัน โคนกลีบติดกันเป็นหลอดสีส้มสด ดอกบานส่งกลิ่นหอมในเวลากลางคืน และจะร่วงในเช้าวันรุ่งขึ้น
ผลมีลักษณะกลมแบน ขณะอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีดำ
การขยายพันธุ์ ใช้ตอนกิ่ง
ทางด้านสมุนไพร เปลือกให้น้ำฝาด เปลือกชั้นในเมื่อผสมกับปูนขาวจะให้สีแดง ดอกมีน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้ เช่นเดียวกับมะลิ ส่วนของดอกที่เป็นหลอด สกัดเป็นสีย้อมผ้าไหม ใบใช้แก้ไข้และโรคปวดตามข้อ น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาระบาย และเป็นยาขมเจริญอาหาร
ดอกไม้ไทย ๆ สวยมาก ภูมิใจในความเป็นไทยค่ะ
ชณากานต์ ครูพันธุ์ใหม่
ได้ความรู้เพิ่มเติม
ดอกไม้ในวรรณคดีไทยสวยมากเลยค่ะ
แล้วดอกกุหลาบมอญที่ว่ามีขายตามตลาดป่าวงะคับ...
ดูแล้วมีความรู้สึกว่าสวยดีงะ อยากได้มาปลูกที่บ้าน
แล้วดอกกุหลาบมอญที่ว่ามีขายตามตลาดป่าวงะคับ...
ดูแล้วมีความรู้สึกว่าสวยดีงะ อยากได้มาปลูกที่บ้าน
อ่านแล้วได้ความรู้ ขอบคุณครับ
ถ้ายังงั้น
โรงเรียนเราก็เป็นโรงเรียนในวรรคดีสิคะ
อิอิอิอิ
มีประโยชน์ดี
เป็นข้อมูลที่ดีและมีความน่าสนใจมากค่ะแต่ถ้าจะดควรบ่งบอกลักษณะของดอกด้วยจะเป็นประโยชน์มากค่ะ
มีประโยชน์มาก