ดอกไม้ในวรรณคดี

สุพรรณิการ์
“…เล็บนางงามแสล้ม
ต้นนางแย้มแกมดองดึง
สุพรรณิกากากระทึง
ดอกราชพฤกษ์ซึกไทรไตร…”
วรรณคดี : กาพย์ห่อโคลง “ นิราศธารทองแดง”
ผู้ประพันธ์ : เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ “เจ้าฟ้ากุ้ง”
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Cochlospermum religiosum
ชื่อสามัญ : Yellow Slik-Cotton Tree, Butter-Cup Tree
ชื่อวงศ์ : Bixaceae
สุพรรณิการ์มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “ฝ้ายคำ” เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ ๓ -๗ เมตร ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ชอบแสงแดดจัด ออกดอกหลังจากใบร่วงหมดในราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน
ใบมีลักษณะมน ขอบเว้าเป็น ๕ แฉก กว้างประมาณ ๖ นิ้ว ยาวประมาณ ๘ นิ้ว ท้องใบมีขนอ่อน
ดอกใหญ่มี ๕ กลีบ สีเหลืองสด กลีบดอกงุ้มเข้าหากันคล้ายถ้วย ดอกมีขนาดกว้างประมาณ ๕ นิ้ว กลางดอกมีเกสรตัวผู้มากมาย เมื่อดอกโรยจะติดผล
ผลมีลักษณะกลมรี ภายในผลมีเมล็ดมีปุยคล้ายปุยฝ้าย
การขยายพันธุ์ ใช้วิธีเพาะเมล็ด
ดอกไม้ไทย ๆ สวยมาก ภูมิใจในความเป็นไทยค่ะ
ชณากานต์ ครูพันธุ์ใหม่
ได้ความรู้เพิ่มเติม
ดอกไม้ในวรรณคดีไทยสวยมากเลยค่ะ
แล้วดอกกุหลาบมอญที่ว่ามีขายตามตลาดป่าวงะคับ...
ดูแล้วมีความรู้สึกว่าสวยดีงะ อยากได้มาปลูกที่บ้าน
แล้วดอกกุหลาบมอญที่ว่ามีขายตามตลาดป่าวงะคับ...
ดูแล้วมีความรู้สึกว่าสวยดีงะ อยากได้มาปลูกที่บ้าน
อ่านแล้วได้ความรู้ ขอบคุณครับ
ถ้ายังงั้น
โรงเรียนเราก็เป็นโรงเรียนในวรรคดีสิคะ
อิอิอิอิ
มีประโยชน์ดี
เป็นข้อมูลที่ดีและมีความน่าสนใจมากค่ะแต่ถ้าจะดควรบ่งบอกลักษณะของดอกด้วยจะเป็นประโยชน์มากค่ะ
มีประโยชน์มาก