ลักษณะของภาษาไทย
๕. การวางคำขยายไว้ข้างหลังคำหลัก คำขยายในภาษาไทยจะวางไว้ข้างหลังคำหลักหรือคำที่ถูกขยายเสมอ การวางคำขยายจะเกิดในกรณีที่ผู้พูดหรือผู้เขียนมีความต้องการจะบอกกล่าวข้อความเพิ่มเติมในประโยค ก็หาคำมาขยายโดยการวางคำขยายไว้ข้างหลัง คำที่ต้องการขยายความหมายมักจะเป็นคำนาม คำกริยา ดังนั้น คำขยายจึงอยู่หลังคำที่ถูกขยายหรือคำหลัก จะเรียงลำดับ ดังนี้
๑. คำนาม (คำหลัก) + คำขยาย เช่น บ้านเพื่อน แขนขวา (บ้าน แขน เป็นคำหลัก ส่วนเพื่อน ขวา เป็นคำขยาย)
๒. คำกริยา (คำหลัก) + คำขยาย เช่น กินจุ เดินเร็ว (กิน เดิน เป็นคำหลัก ส่วนจุ เร็ว เป็นคำขยาย)
คำขยาย หรือคำที่ทำหน้าที่ขยาย แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ๑) คำที่ทำหน้าที่ขยายนาม เป็นคำชนิดต่าง ๆ เช่น คำนาม
คำสรรพนาม คำลักษณนาม คำบอกจำนวน เป็นต้น และเมื่อขยายแล้วจะเกิดเป็นกลุ่มคำนามหรือนามวลี เช่น ละครเพลง ร่มใน
ตะกร้า เรือ ๕ ลำ ๒) คำที่ทำหน้าที่ขยายกริยา เป็นคำชนิดต่าง ๆ เช่น คำกริยา คำช่วยหน้ากริยา คำบอกจำนวน คำลักษณนาม
เป็นต้น และเมื่อขยายแล้วจะเป็นกลุ่มคำกริยา หรือกริยาวลี เช่น หอมฟุ้ง หมุนติ้ว ประมาณ ๕ กิโลกรัม
ถ้าคำหลัก หรือคำที่ถูกขยายเป็นคำนามที่ทำหน้าที่ประธาน หรือกรรม และเป็นคำกริยาที่ทำหน้าที่กริยาของประโยคที่ต้องการ
เนื้อความเพิ่มขึ้นก็จะหาคำมาขยายโดยวางเรียงต่อจากคำหลัก
จึงมีรูปแบบการเรียงคำ ดังนี้ คำหลัก (คำนาม,คำกริยา) + คำขยาย
ขอบคุณมากครับ
http://www.thaigoodview.com/blog/101501
แวะเข้ามาเยี่ยมชม เป็นประโยชน์สำหรับครูภาษาไทยและผู้อ่านทั่วไป ชอบมากค่ะ^^
ขอบคุณนะคะ
เป็นข้อมูลที่ดีมากๆสำหรับการทบทวนความรู้ที่จะได้นำไปสอนให้ตรงและถูกต้อง
ขอบคุณมากค่ะ
แวะมาอ่านผลงานของท่านเหมือนกัน ขอบคุณค่ะที่ทำสิ่งดี ๆ ให้ศิษย์ทั่วไปได้ค้นหาความรู้
รู้สึกว่าการนำความรู้ลงในบลอกเป็นการนำความรู้ที่เกิดประโยชน์
แวะมาอ่าน ขอบคุณครับ
แวะอ่านความรู้ภาษาไทยเพิ่มเติม
ขอบคุณมากค่ะ...
สำหรับข้อมูลที่สามารถนำมาใช่ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครูภาษาไทย