การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุ์กรรม
ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุ์กรรม
ลักษณะทางพันธุกรรม คือ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังอักรุ่นหนึ่งได้ โดยทางยีน ซึ่งเป็นหน่วยพันธุกรรมซึ่งควบคุการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต ยีนจะอยู่บนโครโมโซมและโคโมโซมจะอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์
ลักษณะทางพันธุกรรม จำแนกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันต่อเนื่อง (continuous variation) เป็นลักษณะทางพันธุกรรม ที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจน เช่น สีผิว ความสูง น้ำหนัก ไอคิวของคน
ลักษณะเหล่านี้ถูกควบคุมด้วยยีนหลายคู่ ยีนจึงมีอิทธิพลต่อการควบคุมลักษณะดังกล่าวน้อย แต่สิ่งแวดล้อมจะมีอิทธิพลมาก
2. ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันไม่ต่อเนื่อง (discontinuous variation)เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแตกต่างกันอย่งชัดเจน เช่น ความสามารถในการห่อลิ้น จำนวนชั้นของตา การถนัดมือขวาหรือมือซ้าย
ลักษณะเหล่านี้ถูกควบคุมด้วยยีนน้อยคู่ ยีนจึงมีอิทธิพลต่อการควบคุมลักษณะดังกล่าวมาก แต่สิ่งแวดล้อมจะมีอิทธิพลน้อย
การศึกษาแบบแผนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุ์กรรมของพืชและสัตว์บางชนิดโดยทั่วไปจะศึกษาได้จากการทดลองลักษณะทางพันธุ์กรรมในพืชได้แก่ ความสูง ลักษณะรูปร่างของใบรูปร่างของดอก ขนาดของผล สี ขนาดของลำต้น ความหวาน เป็นต้น
ฟีโนไทป์ (phenotype) คือ ลักษณะที่ปรากฏให้เห็นภายนอกซึ่งเป็นผลมาจากยีน เช่น ต้น สูง ต้นเตี้ย เมล็ดกลม เมล็ดขรุขระ เป็นต้น
จีโนไทป์ (genotype) คือ ลักษณะของยีนที่อยู่ภายใน จะอยู่กันเป็นคู่ ๆ นิยมใช้สัญลักษณ์เป็นอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมใหญ่แทนยีนที่ควบคุมลักษณะเด่น และใช้อักษรตัวพิมเล็กแทนยีนที่ควบคุมลักษณะด้อย เช่น TT, Tt , tt เป็นต้น แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1.พันธุ์แท้ (homozygous) คือ ลักษณะของจีโนไทร์ที่มียีนทั้งคู่เหมือนกันซึ่งอาจเป็นยีนที่มีลักษณะเด่นทั้งคู่ เช่น TT, RR หรือแสดงลักษณะด้อย เช่น tt , rr เป็นต้น
2.พันธุ์ทาง (heterozygous) คือ ลักษณะของจีโนไทร์ ที่มียีนทั้งคู่แตกต่างกัน โดยมียีนแสดงลักษณะเด่น 1 ยีนแสดงลักษณะด้อย 1 ยีน เช่น Tt , Rr เป็นต้น
สูตรในการหาจำนวนจีโนไทปและฟีโนไทป์
ชนิดของเซลล์สืบพันธุ์ = 2n
จีโนไทป์ของลูกที่เกิดมา = 3n
ฟีโนไทป์ของลูกที่เกิดมา = 2n
โดยที่ n คือ จำนวนคู่ของเฮเทอโรไซกัสยีน
- 1
- 2
- 3
- 4
- ถัดไป ›
- หน้าสุดท้าย »
ผม อยู่ โรงเรียนไทยรัฐวิทายา <3>
ผม ชอบ ***
ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้ในเรื่องที่เรียนเลยค่ะ
ขอบคุณมากๆค่ะ
อืม.......เปนเวบไซด์ที่ให้ความรู้ดีทีเดียวเลยนะเนี่ย ถ้ามีเนื้อหาที่สำคันเยอะกว่านี้ก้อดีนะ
เว็บนี้มีความรุ้มากเลย
ว๊าววววววววววววววว เนื้อหาตรงกับอาจารย์สอนที่โรงเรียนเลย