การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุ์กรรม
เมนเดล – บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์
เกรเกอร์ เมนเดน เป็นบาทหลวงชาวออสเตรียและเป็นนักคณิตศาสตร์ เมนเดนชี้ห้เห็นว่าลักษณะที่ปรากฏในลูกเป็นผลที่มาจากการถ่ายทอดหน่วยที่ควบคุมลักษณะต่างๆ ที่ได้จากพ่อและแม่โดยผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์
ลักษณะเด่นและลักษณะด้อย
เมนเดนทำจากการทดลองผสมต้นถั่วลักษณะต่าง ๆ เพราะเป็นพืชที่หาง่าย ปลูกง่าย ขยายพันธุ์ง่ายอายุสั้น มีดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ เมื่อมีการผสมภายในดอกเดียวกันทำให้เดิดพันธุ์แท้นอกจากนั้นยังผสมข้ามดอก
หรือข้ามต้นได้ จากการทดลอง เมนเดมได้พบลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วที่แสดงออกมาให้เห็น
ลักษณะเด่น (dominant) หมายถึง ลักษณะที่ปรากฏในทุกรุ่น หรือลักษณะที่แสดงออกได้มากในรุ่นลูกหรือรุ่นหลาน ตัวอย่างลักษณะเด่นของถั่วได้แก่ เมล็ดกลม เนื้อเม็ดสีเหลือง เปลือกหุ้มเมล็ดมีสี ฝักอวบ ฝักมีสีเขียว ต้นสูง และ ตำแหน่งดอกที่ลำต้น
ลักษณะด้อย (recessive) หมายถึง ลักษณะที่ไม่ค่อยจะปรากฎให้เห็นหรือแสดงออกได้น้อย เพราะลักาษณะเด่นข่มเอาไว้ ตัวอย่างลักษณะด้อยขงถั่วได้แก่ เมล็ดขรุจขะ เนื้อเมล็ดสีเขียว เปลือกหุ้มเมล็ดสีขาว ฝักแฟบ ฝักสีเหลือง และตำแหน่งเกิดที่ยอด
ข้อควรจำ
กฎของเมนเดนมีดังนี้
1.กฎแห่งการแยกลักษณะ กล่าวว่า ลักษณะต่างๆอยู่เป็นคู่ๆ ขณะการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ยีนทั้งคู่จะแยกตัวออกจากกันในเซลล์สืบพันธุ์
2.กฎแห่งการเลือกกลุ่มอย่างอิสระ กล่าวว่า ลักษณะที่ถ่ายทอดไปต่างก็เป็นอิสระ ไม่เกี่ยวข้องกับลักษณะอื่น
3.กฎแห่งลักษณะเด่น กล่าวว่า ลักษณะจะข่มลักษณะด้อยเมื่อยีนเด่นอยู่คู่กับยีนด้อย ลักษณะที่แสดงออกมาเป็นลักษณะของยีนเด่นเท่านั้น
ข้อควรจำ
การที่จะบอกได้ว่าถั่วต้นที่มีลักษณะเด่นนั้นเป็นพันธุ์แท้หรือพันทาง ทำได้ 2 แนวทาง คือ
1. นำต้นถั่วนั้นผสมกันเองถ้าเป็นพันธุ์แท้ ลูกที่ได้จะเป็นพันธุ์ทั้งหมด แต่ถ้าเป็นพันทางรุ่นลูกที่ได้จะมี 2 ลักษณะ คือ สูง (ซึ่งมีทั้งพันธุ์สูงแท้และพันสูงทาง) และเตี้ย = 3: 1
2. นำต้นถั่วที่สงสัยว่าเป็นต้นที่มีลักษณะเด่นพันธุ์แท้หรือพันทางนั้นมาผสมกับต้นที่มีลักษณะด้อย ถ้าเป็นพันทาง รุ่นลูกจะได้ลักษณะพันทางกับลักษณะด้อยเท่าๆ กัน
วิธีในการที่ใช้การศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุ์กรรม โดยทั่วไปสามารถศึกษาได้จากการทดลอง ที่นิยมนำมาศึกษา ได้แก่ การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของต้นถั่ว และแมลงหวี่แต่การศึกษา
ลักษณะทางพันธุกรรมในมนุษย์ไม่สามารถทำการทดลองได้เนื่องจาก
1) ไม่สามารถควบคุมคู่แต่งงานให้เป็นไปตามลักษณะที่ต้องการจะศึกษาได้
2) จำนวนบุตรที่เกิดขึ้นมีน้อยและไม่แน่นอน ยากแก่การศึกษา
3) มีอายุไขที่ยาวนาน ยากที่จะสังเกตการถ่ายทอดลักษณะในหลาย ๆ ชั่วคน
ดังนั้นในการศึกษาลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมของมนุษย์ทำได้หลายวิธีได้แก่
1. ศึกษาจากการสืบประวัติของครอบครัวที่มีลักษณะตามที่เราต้องการศึกษา
2. ศึกษาจากประวัติคนไข้ที่มีลักษณะผิดปกติหรือเป็นโรคที่ถ่ายทอดในครอบครัว
3. ศึกษาลักษณะต่าง ๆ ในคู่แฝด
4. ศึกษาจากสัตว์ที่ทดลองเพื่อนำมาเปรียบเทียบลักษณะที่ศึกษากับมนุษย์
5. ศึกษาจากการใช้แผนภาพแสดงการสืบสายพันธุ์หรือแผนภาพแสดงลำดับเครือญาติที่เรียกว่า “ เพดดีกรี (pedigree) หรือ พงศาวดี” ซึ่งนิยมนำมาใช้ศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุ์กรรมของมนุษย์
สรุปงานของเมนเดล
1. การถ่ยทอดลักษณะต่างๆของสิ่งมีชีวิตต้องมีหน่วยคุมลักษณะ ที่เรียกว่า ยีน โดยยีนจะอยู่กันเป็นคู่
2. ยีนแต่ละคู่อาจเหมือนกัน เช่น TT , tt เรียกว่า โฮโมไซกัสยีน (homozygous gene) หรืออาจต่างกัน เช่น Tt เรียกว่า เฮเทอโรไซกัสยีน (heterozygous gene)
3. คู่ของยีนที่ต่างกันจะแสดงออกเพียงยีนเดียว ยีนที่แสดงออกเรียกว่า ยีนเด่นหรือยีนข่ม (dominant gene) ขณะที่ยีนที่ไม่แสดงออกเรียกว่า ยีนด้อย (recessive gene)
4. เมื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ยีนที่อยู่เป็นคู่แอลลีนกัน ย่อมแยกจากกันไปยังเซลล์สืบพันธุ์แต่ละยีน ดังนั้นเซลล์สืบพันธุ์หนึ่งๆ จะได้ยีนเป็นครึ่งหนึ่งของเซลลืที่แบ่ง เรียกว่า กฎกรแยกตัวของยีน (Law of Segregation)
5. การแยกตัวของยีนแต่ละคู่ไปสู่เซลล์สืบพันธุ์นั้นเป็นอิสระจากคู่อื่นๆ เรียกว่า กฎกรเลือกกลุ่มอย่างอิสระ (Law fo Independent Assortment) เช่น AaBb เมือสร้างเซลล์สืบพันธุ์ A ย่อยแยกจาก a และ
B แยกจาก b ตามข้อ 4. จากนั้น A ก็มีอิสระไปจับกับ B หรือ b เท่าๆกับ a ก็มีอิสระไปจับกับ B หรือ b ดังนั้นเซลล์สืบพันธุ์จึงได้แบบของยีน 4 แบบ คือ AB Ab aB ab
6. เซลล์สืบพันธ์ตัวผู้จะปฏิสนธิกับเชลล์สืบพันธุ์ตัวเมียโดนการสุ่ม (random)
ผม อยู่ โรงเรียนไทยรัฐวิทายา <3>
ผม ชอบ ***
ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้ในเรื่องที่เรียนเลยค่ะ
ขอบคุณมากๆค่ะ
อืม.......เปนเวบไซด์ที่ให้ความรู้ดีทีเดียวเลยนะเนี่ย ถ้ามีเนื้อหาที่สำคันเยอะกว่านี้ก้อดีนะ
เว็บนี้มีความรุ้มากเลย
ว๊าววววววววววววววว เนื้อหาตรงกับอาจารย์สอนที่โรงเรียนเลย