การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุ์กรรม
การผสมแบบต่างๆในทางพันธุ์ศาสตร์
1. การผสมในรุ่นเดียวกัน (selfing) เช่น นำรุ่นลูกมาผสมกันเอง(F1 ผสมกับ F1) ได้รุ่นหลาน F2
2. การผสมย้อนกลับ (back cross) หมายถึง F1 ผสมย้อนไปหารุ่น พ่อ หรือ แม่ก็ได้
3. การผสมเพื่อตรวจสอบจีโนไทป์ (test cross) หมายถึง การนำลักษณะที่สงสัยว่าเป็นพันธุ์แท้หรือพันธุ์ทางไปผสมกับลักษณะด้อย ซึ่งเป็น โฮโมไซกัสลักษณะด้อย แล้วดูว่า ถ้าลูกออกมาเป็นลักษณะเด่นอย่างเดียว
แสดงว่าลักษณะที่สงสัยเป็นพันธุ์เแท้ แต่ถ้าลูกที่ออกมามีทั้งลักษณะเด่นและลักษณะด้อย แสดงว่าลักษณะที่สงสัยเป็นพันธุ์ทาง
ระดับการข่มกันของยีนแบบต่างๆ
1. การข่มกันแบบสมบูรณ์ (complete dominance) หมายถึง การข่มกันของอัลลีนลักษณะด้อยเป็นไปอย่งสมบูรณ์ จนทำให้โฮโมไซกัส ลักษณะเด่น กับ เฮเทอโรไซกัส แสดงลักษณะออกมาเหมือนกัน เช่น
TT แสดงลักษณะสูงเช่นเดียวกับ Tt
2. การข่นแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete dominance หรือ partial dominance) หมายถึง การข่มของอัลลีนหนึ่งต่ออัลลีนหนึ่งเป็นไปได้แต่ไม่เต็นที่ ทำให้เฮเทอโรไซกัสแสดงลักษณะค่อนไปทางโฮโมไซกัสลักษณะเด่น
ดังนั้น อัตราส่วนของจีโนไทป์ = อัตราส่วนของฟีโนไทป์ เช่น กรณีของดอกบานเย็น ถ้านำดอกบานเย็นสีแดงมาผสมกับดอกสีขาวจะได้ดอกไม้สี แดง ชมพู ขาว ในอัตราส่น 1 : 2 : 1
3. การข่มแบบร่วมกัน (co - dominance) หมายถึงการที่อัลลีนแต่ละตัวแสดงฟีโนไทป์ของมันออกมาร่วมกันในสภาพของเฮเทอโรไซกัสยีน เช่น ในกรณีกลุ่มเลือด A , B .O โดยอัลลีน IA กับอัลลีน IB ต่างเป็นอัลลีนที่มีการข่มร่วมกัน ส่วนอัลลีน i เป็นอัลลีนลักษณะด้อย
4. การข่มแบบที่เหนือกว่า (over - dominance) หมายถึงการที่อัลลีนในสภาพเฮเทอโรไซกัสแสดงฟีโนไทปออกมาเหนือกว่าฟีโนไทป์ของโฮโมไซกัส
ผม อยู่ โรงเรียนไทยรัฐวิทายา <3>
ผม ชอบ ***
ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้ในเรื่องที่เรียนเลยค่ะ
ขอบคุณมากๆค่ะ
อืม.......เปนเวบไซด์ที่ให้ความรู้ดีทีเดียวเลยนะเนี่ย ถ้ามีเนื้อหาที่สำคันเยอะกว่านี้ก้อดีนะ
เว็บนี้มีความรุ้มากเลย
ว๊าววววววววววววววว เนื้อหาตรงกับอาจารย์สอนที่โรงเรียนเลย