มารยาทในการใช้โรงพยาบาล
กาลเทศะในโรงพยาบาล
โรงพยาบาลป็นสถานที่สาธารณะทางสาธารณสุข มีคนเข้าออกมากมายไม่จำกัดชนชั้นเพศวัย เนื่องจากมีคนทั่วไปและมีผู้ที่เจ็บป่วยเข้าออกมากมาย ดังนั้นจึงมีกติกาที่ตั้งขึ้นมาร่วมกัน เพื่อจะได้อยู่กันอย่างมีความสุข
แต่ปัจจุบันเกิดสิ่งที่เรียกได้ว่า "ผิดกาลเทศะ" เกิดขึ้นภายในโรงพยาบาลบางอย่างเห็นผลในทันที บางอย่างแฝงอยู่ในรูปความไม่พอใจและก่อให้เกิดความเครียดมากขึ้น ก่อให้เกิดการกระทบกระทั่งง่ายขึ้น วันนี้จะมาบอกเล่าตีแผ่สิ่งที่เรียกได้ว่า ผิดที่ผิดทางภายในโรงพยาบาล
1.บุหรี่
ได้ยินมาว่าปัจจุบันมีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในโรงพยาบาลถ้าใครฝ่าฝืนจะต้องโดนจับปรับ ทั้งในโรงพยาบาลก็มีโปสเตอร์เรื่องการสูบบุหรี่ว่าเป็นโทษต่อร่างกายของตนเองและคนรอบข้าง มีโปสเตอร์สัตว์ประหลาดที่ประกอบจากร่างกายผู้สูบบุหรี่ฯลฯ
2.จอดรถผิดที่
รพ.เป็นที่ๆมีคนมากันมากมายและต้องใช้เวลา ดังนั้นการจอดรถจึงเป็นเรื่องที่ต้องจัดการให้ลงตัว อย่างไรก็ตามก็มีการจอดรถที่ผิดที่ผิดทางและก่อให้เกิดผลเสียตามมา
- จอดรถในที่ของเจ้าหน้าที่ ปกติที่จอดรถในรพ. มักจะมีที่จอดรถบางที่ ที่กำหนดให้บุคลากร เพราะว่าถ้าไม่ทำไว้ให้ก็จะทำให้ขลุกขลักและส่งผลต่อการทำงาน บางครั้งคนที่มารับบริการก็ลักไก่ไปจอดในที่จอดรถของเจ้าหน้าที่เพราะเห็นว่าสะดวกและมีหลังคา พอเจ้าของที่มา ก็เข้าจอดไม่ได้ต้องไปหาที่จอดอื่น
- จอดในที่ไม่ควรจอด เข้าใจอยู่ว่าบางครั้งรีบกัน แต่ว่าควรจะดูด้วยว่าที่ๆจอดนั้นสมควรหรือไม่ บางครั้งมากันหลายคนพาคนไข้มาคนเดียว พอจอดรถที่หน้าตึกฉุกเฉินก็ลงจากรถกันทั้งหมด ทิ้งรถไว้ให้ขวางทางเข้าออก ร้ายไปกว่านั้นบางคนรีบมาหาญาติ ก็จอดรถทิ้งไว้กลางถนนหน้าห้องฉุกเฉินแล้วเข้ามาถาม หลังจากนั้นก็ทิ้งรถไว้เลย..... การทิ้งรถให้กีดขวางทางในโรงพยาบาลที่เป็นที่สาธารณะถือเป็นเรื่องที่ไม่น่าทำเพราะถ้าคุณทิ้งไว้ในจุดที่สำคัญบางจุด จะมีผลต่อคนไข้อื่นที่อาจจะฉุกเฉินและรอช้าไม่ได้
3.พาเด็กเล็กมาโรงพยาบาล
ถ้าพาเด็กมาตรวจก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่การพาเด็กเล็กมารพ.โดยไม่จำเป็นเช่นพามาเยี่ยมญาติ หรือพาติดมาด้วยเฉยๆ เป็นสิ่งที่ไม่น่าทำ เพราะว่าอย่างที่รู้กันว่ารพ.เป็นที่ๆมีเชื้อโรคมากมาย มีแต่สิ่งที่ไม่ค่อยน่าดูสำหรับเด็ก รวมทั้งการพาเด็กมารพ.แล้วปล่อยเด็กให้วิ่งเล่นซน นอกจากจะเสี่ยงต่อการหลง เด็กยังอาจจะไปเล่นกับอุปกรณ์การแพทย์ทำให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายถึงแก่ชีวิตผู้อื่นได้
ปรากฎอยู่เนืองๆ ที่พาเด็กมารพ.แล้วปล่อยให้เด็กวิ่งเล่นในตึกผู้ป่วย ปัญหาที่ตามมาคือหากพยาบาลไปตำหนิ ก็มักจะเกิดการกระทบกระทั่งหรือถ้าไม่ได้ไปยุ่ง แล้วเด็กไปปรับน้ำเกลือเล่น ไปปรับเครื่องช่วยหายใจเล่น จนก็ทำให้คนที่นอนอยู่ถึงตายได้
4.ด่วนไม่ด่วน
ดังเคยกล่าวไว้ในตอน รู้ไว้ก่อนไปรพ.#1 ว่ามีการแบ่งความเร่งด่วนเป็นระดับต่างๆ คือ
- รีบด่วนที่สุด ถ้าไม่ช่วยก็อาจตายได้ในเวลาอันใกล้
-รีบด่วน ถ้าไม่ช่วย อาจส่งผลเสียและอาจถึงขั้นเสียชีวิต
-รอตรวจได้ แต่ต้องรักษา
-รอได้
5.การนำการรักษาแบบอื่นเข้ามาในโรงพยาบาล
สังเกตไหมครับว่าแพทย์สมัยก่อนจะห้ามเด็ดขาดในเรื่องการรักษาพื้นบ้านหรือการรักษาตามความเชื่อ แต่ แพทย์แผนปัจจุบันตามโรงพยาบาลเดี๋ยวนี้ ส่วนใหญ่จะไม่ห้ามเรื่องความเชื่อของคนไข้ในการรักษาแบบต่างๆแล้ว
เพราะว่า
- เรื่องใดที่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าดีหรือไม่ดี และหากทำไปแล้วไม่ได้มีผลเสีย ก็ไม่ได้มีปัญหา
- หากทำไปแล้ว เห็นได้ชัดว่ามีผลเสีย ก็เป็นเรื่องของคนไข้ (ไม่ใช่สิทธิ เพราะคนเราไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะทำร้ายตนเอง)
- โรคบางโรค พอรักษาแล้วไม่หาย ถ้าปล่อยให้ทำตามความเชื่อ ญาติจะมองว่าถึงที่ตายแล้ว... แต่ถ้าไปห้าม ญาติจะมองว่า"เพราะหมอห้ามก็เลยไม่หาย" เรื่องนี้เป็นความจริงที่พบทั่วไปในสังคมไทย
แต่สิ่งหนึ่งที่ควรรู้คือ แพทย์ก็มีหลักที่ว่าถ้าคนไข้จะทำอะไรที่เป็นอันตรายต่อตน.. เป็นสิ่งที่แพทย์ไม่สามารถยอมได้(เพราะผิดทั้งกฎหมายและศีลธรรม)
และอีกส่วนหนึ่ง การกระทำที่ทำในโรงพยาบาล ก็ย่อมถือว่าอยู่ในความรับผิดชอบของแพทย์พยาบาลที่ดูแลอยู่
แหล่งที่มา http://medinfo.psu.ac.th/
รูปภาพประกอบ http://islamicfinancethai.com/
http://loadebookstogo.blogspot.com/