ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์

ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อดัม สมิท (Adam Smith) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ซึ่งเป็นแกนนำของนักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก (classical school) ได้เขียนหนังสือชื่อ An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations หรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่า The Wealth of Nations ใน ค.ศ. 1776 นับได้ว่าเป็นตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกและยิ่งใหญ่ที่สุด เล่มหนึ่งของโลกมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทำให้อดัม สมิทได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็น บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ แนวคิดหลักของสำนักคลาสสิกสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (laissez-faire) โดยจำกัดบทบาทของรัฐบาลในด้านเศรษฐกิจเพราะมีความเชื่อว่าระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม จะทำให้ประเทศพัฒนาไปได้ด้วยดี เศรษฐกิจของประเทศจะมีความมั่งคั่งก็ต่อเมื่อรัฐบาลแทรกแซงหรือมีบทบาทในกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด (ไม่แทรกแซงเลยดีที่สุด) รัฐบาลมีหน้าที่เพียงแต่คอยอำนวยความสะดวก รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และป้องกันประเทศ ปล่อยให้เอกชน เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเสรี นั่นคือ สมิทเชื่อใน พลังงานกลไกตลาด (ราคา) หรือ ที่เขาเรียกว่า มือที่มองไม่เห็น (invisible hand) นอกจากสมิทแล้วนักเศรษฐศาสตร์ในกลุ่มของ คลาสสิกยังมีทอมัส มัลทัส (Thomas Multhus) เดวิด ริคาร์โด (David Ricardo) จอห์น มิลล์ (John Mill)
หลังจากกลุ่มของสำนักคลาสสิกก็เป็นกลุ่มของสำนักนีโอคลาสสิก (neoclassical school) ซึ่งเป็นสำนักเศรษฐศาสตร์ที่ก่อตัวและพัฒนาขึ้นในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 แนวคิดหลักของสำนักนีโอคลาสสิกส่วนมากสืบต่อหรือดัดแปลงแก้ไขมาจากแนวคิดของสำนักคลาสสิก โดยเชื่อว่าการแข่งขันอย่างเสรีจะเป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจมีความมั่งคั่ง นั่นคือ สนับสนุนแนวคิดของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีเช่นเดียวกับของสำนักคลาสสิก นอกจากนั้น ยังเน้นให้เห็นว่าเนื่องจากทรัพยากรมีจำนวนจำกัด ดังนั้นผู้บริโภคจะต้องพยายามเลือกบริโภคสินค้าและบริการเพื่อให้ได้รับความพอใจสูงสุด และเช่นเดียวกัน ผู้ผลิตจะต้องตัดสินใจเลือกวิธีการผลิตที่ทำให้เสียต้นทุนต่ำที่สุดหรือให้ได้กำไรสูงสุด นั่นคือ แต่ละฝ่ายจะต้องพยายามใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและประหยัดที่สุด นักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นผู้ วางรากฐานแนวคิดที่สำคัญของสำนักนีโอคลาสสิกคืออัลเฟรด มาร์แชลล์ นอกจากนี้ ยังมีเลอง วาลรา ( Walras) วิลเฟรโด พาเรโต (Vilfredo Pareto) ฯลฯ
นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ของทั้งสำนักคลาสสิกและนีโอคลาสสิกต่างมีความเชื่อว่า อุปทานจะเป็นตัวสร้างอุปสงค์ (supply creates its own demand) ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันว่าคือ กฎของเซย์ (Say's law) ซึ่งมีสาระสำคัญว่า อุปทานจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์ กล่าวคือ ไม่ว่า ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าหรือบริการอะไรออกมาก็จะมีผู้รับซื้ออยู่ตลอดเวลา นั่นคือ จะไม่เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หรือเกิดการว่างงาน ซึ่งต่อมาแนวความคิดนี้ไม่ตรงกับความเป็นจริง เนื่องจากเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง เกิดปัญหาการว่างงานจำนวนมากใน ค.ศ. 1930 ซึ่งกฎของเซย์ไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นดังกล่าวได้
ได้ความรู้มากจริงๆๆๆๆๆๆ
ได้ความรู้เยอะมาก ขอบคุณครับ