คุณค่าของงานใบตอง

ที่มาภาพ : สุพัสดา ศรีอุดร. งานใบตอง ๑. หน้า ๕.
๑. ใบตองตานี มีผิวเป็นมัน สีเขียวเข้ม ไม่แห้งกราก เหนียวนุ่ม ไม่เปราะ ไม่ฉีกขาดง่าย มีความหนา-บางพอเหมาะ สีของ
ใบตองจะไม่ตกติดอาหาร ถึงแม้จะถูกความร้อน
๒. กรรไกร ขนาดและรูปร่างเหมาะมือ น้ำหนักเบาและคมตลอดปลาย เวลาจับ นิ้วทั้งหมดเข้าช่องได้พอดี ตัดใบตองใช้
กรรไกรขนาดใหญ่ ตัดด้ายใช้กรรไกรขนาดเล็ก
๓. เข็มมือ ถ้างานละเอียดชิ้นเล็กมากใช้เบอร์ ๙ ถ้างานปกติใช้เบอร์ ๘ เลือกที่แข็งแรง รูกว้างและตัวยาว
๔. เข็มหมุด ชนิดหัวมุกใช้ในบางครั้งที่ต้องการกลัด หรือตรึงให้อยู่กับที่ชั่วคราว ส่วนชนิดหัวเล็กใช้บ่อย ต้องเลือกตัวยาวและ
ปลายแหลม
๕. ไม้กลัด ขนาดเล็กแหลมแข็งแรง ใช้ไม้ติดผิวหรือใกล้ผิว
๖. ด้าย สีเขียวเข้มหรือสีดำเบอร์ ๖๐ ใช้สองเส้นดีกว่าเส้นเดียว เพราะใช้เส้นเดียวจะมีความคมตัดใบตองให้ขาดง่าย
๗. ผ้าขาวบาง สำหรับห่อใบตองที่ฉีกแล้วหรือห่อผลงานที่แช่น้ำพอแล้ว ใช้ผ้าสาลูทบ ๒ ชั้น เย็บริมคล้ายผ้าอ้อม
๘. ผ้าเช็ดใบตอง ใช้ผ้าฝ้ายดีกว่าผ้าผสมใยสังเคราะห์ เพราะนุ่มและดูดซึมได้ดีกว่า
๙. ยางลบอย่างแข็ง ยางลบเนื้อแข็งๆ ใช้สำหรับกดเข็มหมุดแทนนิ้วมือ นุ่มและไม่เลื่อนหลุดเวลากด
๑๐. ไม้บรรทัด เลือกที่เห็นเส้นและบรรทัดชัดเจน
๑๑. อุปกรณ์อื่นๆที่อาจจำเป็น เช่น คีม ปากคีม ลวด กรรไกรตัวลวด มีดคัทเตอร์ วงเวียน เขียง ถาด กะละมัง ที่ฉีดน้ำและ
ภาชนะต่างๆ ควรเลือกให้พอเหมาะทั้งขนาดและคุณสมบัติที่ต้องการ
- « แรก
- ‹ หน้าก่อน
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- ถัดไป ›
- หน้าสุดท้าย »