กรด เบส น่ารู้ ^___^




ในชีวิตประจำวัน เราใช้สารที่มีสมบัติเป็นกรดหรือเบส หรือกลาง หลายชนิด บางชนิดอยู่ในอาหาร
หรือเครื่องดื่มที่เรารับประทาน เช่น น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว น้ำอัดลม บางชนิด เป็นสารซักล้างการทำความสะอาด
เครื่องสำอาง สารดังกล่าว ล้วนมีค่า ความเป็นกรด-เบส แตกต่างกัน ซึ่งการบอกความเป็นกรด-เบส สามารถบอกได้
ด้วยค่าพีเอช (pH)
นอกจากนี้แล้วความเป็นกรด เบส ยังมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตมาก ถ้าของเหลวในสิ่งมีชีวิตมี pH
เปลี่ยนไป การทำงานของระบบต่างๆ จะเกิดการผิดปกติตามไปด้วย
ค่า pH ของสารละลายกรด - เบส
pH มาจาก potential of hydrogen ion ซึ่งสามารถใช้บอกความเป็นกรด-เบสของสารละลายได้
ซึ่งค่า pH มีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน (H3O) ซึ่งปริมาณของไฮโดรเนียมไอออนยิ่งมาก
(สารละลายกรด) ค่า pH จะน้อยแต่ถ้าปริมาณของไฮโดรเนียมไอออนน้อย (สารละลายเบส) ค่า pH จะมาก ซึ่งค่า
pH สามารถบอกความเป็นกรด-เบสได้ ดังนี้
pH = 7 สารละลายมีสมบัติเป็นกลาง
pH > 7 สารละลายมีสมบัติเป็นเบส ยิ่งมี pH มาก ยิ่งเป็นเบสที่แรงขึ้น
pH < 7 สารละลายมีสมบัติเป็นกรด ยิ่งมี pH น้อย ยิ่งเป็นกรดที่แรงขึ้น
![]()
(ที่มา : http://bcn.boulder.co.us/basin/data/BACT/info/pH.html)
สมบัติทั่วไปของสารละลายกรดและสารละลายเบส ดังนี้
สารละลายกรด
สารละลายกรด (acid solution) คือ สารละลายที่กรดละลายในน้ำ (กรดเป็นตัวละลาย
น้ำเป็นตัวทำละลาย) ซึ่งสามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน (H+) เมื่อละลายน้ำ
สมบัติของสารละลายกรด สมบัติของสารละลายกรด มีดังนี้1. มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำมะนาว (กรดซิตริก) น้ำส้มสายชู (กรดแอซีติก) วิตามินซี (กรดแอสคอร์บิก) เป็นต้น
2. ทดสอบโดยการใช้กระดาษลิตมัส (มี 2 สี คือ สีแดงและสีน้ำเงิน) ถ้าใช้กระดาษลิตมัสสีน้ำเงินจะเกิด
การเปลี่ยนแปลงสีของกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง แต่ถ้าใช้กระดาษลิตมัสสีแดงจะไม่มี
การเปลี่ยนแปลงสีของกระดาษลิตมัส
3. ทำปฏิกิริยากับโลหะได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สไฮโดรเจน (H2) เสมอ เช่น ปฏิกิริยาของโลหะสังกะสีในกรดเกลือ
ได้เกลือซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) กับแก๊สไฮโดรเจน ดังนั้น
โลหะ + กรด --------> เกลือ + แก็สไฮโดรเจน
โลหะที่เกิดปฏิกิริยา เช่น สังกะสี (Zn), แมกนีเซียม (Mg), ทองแดง (Cu), เงิน (Ag), อะลูมิเนียม (Al) เป็นต้น
4. ทำปฏิกิริยากับสารประกอบคาร์บอเนต (XCO3; X คือ ธาตุโลหะใดๆ เช่น หินปูน (CaCO3),
โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) หรือผงฟู ได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เสมอ เช่น
ปฏิกิริยาของหินปูนกับกรดเกลือ ดังสมการ
CaCO3 (s) + 2HCl (aq) --------> CaCl2 (aq) + CO2 (g) + H2O (l)
เมื่อ ( ) เป็นการบอกสถานะของสารในปฏิกิริยา- (s) = solid = ของแข็ง
- (l) = liquid = ของเหลว
- (g) = gas = แก๊ส
ข้อควรทราบ- กรดทำปฏิกิริยากับโลหะได้แก๊สไฮโดรเจน (H2)
- กรดทำปฏิกิริยากับสารประกอบคาร์บอเนตได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เสมอ5. สารละลายกรดสามารถนำไฟฟ้าได้
6. ทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือและน้ำ
สารละลายเบส
สารละลายเบส (base solution) คือ สารละลายที่เบสละลายในน้ำ (เบสเป็นตัวละลาย
น้ำเป็นตัวทำละลาย) ซึ่งสามารถแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) เมื่อละลายน้ำ
สมบัติของสารละลายเบส
สมบัติของสารละลายเบส มีดังนี้1. มีรสฝาด ขม
2. เมื่อสัมผัสจะลื่นมือ
3. ทดสอบกับกระดาษลิตมัส ถ้าใช้กระดาษลิตมัสสีแดงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสีของกระดาษลิตมัสจากสีแดงป็น
สีน้ำเงิน แต่ถ้าใช้กระดาษลิตมัสสีน้ำเงินจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสีของกระดาษลิตมัส
4. ทำปฏิกิริยากับเกลือแอมโมเนีย (NH4Y; Y = ธาตุอโลหะ เช่น คลอรีน (Cl) ได้เป็นแอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl)
จะได้น้ำและแอมโมเนีย (NH3) เป็นผลิตภัณฑ์เสมอ เช่น ปฏิกิริยาของด่าง (NaOH, โซเดียมไฮดรอกไซด์)
กับเกลือแอมโมเนียมคลอไรด์
NaOH (aq) + NH4Cl (aq) ------> NaCl (aq) + H2O (l) + NH3 (g)
เบส เกลือแอมโมเนียม เกลือโซเดียมคลอไรด์ น้ำ แอมโมเนีย
5. ไม่ทำปฏิกิริยากับโลหะ ยกเว้น อะลูมิเนียม (Al) ที่เมื่อทำปฏิกิริยาแล้วจะได้แก๊สไฮโดรเจน (H2)
6. ผสมกับน้ำมันหรือไขมัน จะได้สบู่และกลีเซอรอล เรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยาการเกิดสบู่ (saponification reaction)
7. สารละลายเบสนำไฟฟ้าได้
8. ทำปฏิกิริยากับกรดได้เกลือและน้ำ
![]()