กรด เบส น่ารู้ ^___^

pH ของสารละลาย
ในสารละลายกรดหรือเบสจะมีทั้ง H3O+ และ OH- อยู่ในปริมาณที่แตกต่างกัน การบอกความเป็นกรด
เป็นเบสของสารละลายโดยใช้ความเข้มข้นของ H3O+ หรือ OH- มักเกิดความผิดพลาดได้ง่ายเพราะสารละลาย
มักมีความเข้มข้นของ H3O+ หรือ OH- น้อย ดังนั้นในปี ค.ศ. 1909 นักเคมีชาวสวีเดนชื่อ ซอเรสซัน (Sorensen)
ได้เสนอให้บอกความเป็นกรด-เบสของสารละลายในรูปมาตราส่วน pH ย่อมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า puissance d,
hydrogine แปลว่า กำลังของไฮโดรเจน (power of hydrogen) โดยกำหนดว่า
เมื่อความเข้มข้นของ H3O+ มีหน่วยเป็น mol/dm3 หรือ Molar
ในสารละลายที่เป็นกลาง [H3O+] = [OH-] = 1.0 x 10-7 mol/dm3
ดังนั้น หา pH ของสารละลายได้ดังนี้ pH = - log[H3O+]
= - log 1.0 x 10-7
= - (log 1.0 – 7log10)
= 0 + 7 = 7
นั่นคือสารละลายที่เป็นกลางมี pH = 7
ค่า pH ที่ใช้ระบุความเป็นกรดหรือเบสของสารละลาย สรุปได้ดังนี้
สารละลายกรด มี [H3O+] มากกว่า 1.0 x 10-7 mol/dm3 ดังนั้น pH<7.00
สารละลายที่เป็นกลาง มี [H3O+] เท่ากับ 1.0 x 10-7 mol/dm3 ดังนั้น pH = 7.00
สารละลายเบส มี [H3O+] น้อยกว่า 1.0 x 10-7 mol/dm3 ดังนั้น pH>7.00
นอกจากนี้สามารถบอกความเป็นกรด-เบสของสารละลายในรูปความเข้มข้นของ OH- ก็ได้ โดยค่า pOH
ค่า pOH ใช้บอกความความเป็นกรด-เบสของสารละลายเจือจางได้เช่นเดียวกับค่า pH ซึ่งค่า pOH จะขึ้นอยู่กับ
ความเข้มข้นของ OH- โดยกำหนดความสัมพันธ์ดังนี้
ตัวอย่างการคำนวณค่า pOH สารละลาย NaOH เข้มข้น 0.01 โมลต่อลูกบาศก์เซนติเมตร มี pH เท่าใด
วิธีทำ NaOH (aq) -------------> Na+ (aq) + OH- (aq)
0.01 mol/dm3 0.01 mol/dm3
= 1 x 10-2 mol/dm3
pOH = -log[OH-]
= -log 1x10-2 mol/dm3
= 2log10-log1
= 2-0
pOH = 2

ในสารละลายที่เป็นกลางซึ่งมี [OH-] = 1.0 x 10-7 mol/dm3 จะมี pOH = 7
ความสัมพันธ์ระหว่าง pH กับ pOH
[H3O+][ OH-] = 1.0 x 10-14
log[H3O+][ OH-] = log1.0 x 10-14
log[H3O+] + log[OH-] = log1.0 - 14 log10
- log[H3O+] - log[OH-] = 14 log10
มาตราส่วน pH (pH scale) ใช้บอกความเป็นกรด-เบสของสารละลาย
(ที่มา : สุนทร พรจำเริญ เอกสารประกอบการสอนเรื่องกรด-เบส โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์)