กรด เบส น่ารู้ ^___^

การแตกตัวของกรดแก่และเบสแก่
กรดแก่และเบสแก่เป็นอิเล็กโทรไลต์แก่เมื่อละลายน้ำแตกตัวเป็นไอออนได้ดี แตกตัวได้เกือบหมด
100% ซึ่งถือว่าแตกตัวได้หมดจึงเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าอย่างเดียว ดังนั้นถ้าทราบความเข้มข้นของกรดแก่หรือ
เบสแก่ ก็สามารถคำนวณหาความเข้มข้นของ H3O+ และ OH- ในสารละลายได้ เช่น
1. สารละลาย HNO3 เข้มข้น 1 mol/dm3 จะแตกตัวให้ H3O+ และ NO3- อย่างละ 1 mol/dm3
2. สารละลายเบสแก่ NaOH เข้มข้น 0.1 mol/dm3 จะแตกตัวให้ Na+ และ OH- เข้มข้น
อย่างละ 0.1 mol/dm3
3. สารละลายเบสแก่ Ca(OH)2 เข้มข้น 1 mol/dm3 จะแตกตัวให้ Ca2+ 1 mol/dm3 แต่ให้
OH- 2 mol/dm3
H2SO4 แตกตัวได้ 2 ขั้น ดังนี้
การแตกตัวของกรดอ่อน - เบสอ่อน
กรดอ่อนและเบสอ่อนจัดเป็นอิเล็กโทรไลต์อ่อน เมื่อละลายน้ำจึงแตกตัวได้ไม่หมด แตกตัวได้
เพียงบางส่วนและเป็นส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับความเข้มข้นเริ่มต้นของกรดอ่อนหรือเบสอ่อน การแตกตัวของกรดอ่อน
และเบสอ่อนจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ ณ ภาวะสมดุลจึงมีทั้งโมเลกุลของกรดอ่อนหรือเบสอ่อนและไอออน
ที่เกิดจากการแตกตัวของกรดอ่อนและเบสอ่อน การบอกความเข้มข้นของ H3O+ และ OH- ที่เกิดจากการแตกตัวของ
กรดอ่อนและเบสอ่อน นิยมบอกเป็นร้อยละเรียกว่า ร้อยละการแตกตัว(percent ionization : α) เช่น กรดอ่อน HA
เข้มข้น 1 mol/dm3 แตกตัวได้ร้อยละ 5 หมายความว่าในสารละลายปริมาตร 1 dm3 มีกรด HA ละลายอยู่ 1 mol
และเมื่อถึงสมดุลกรด HA แตกตัวไปเพียง 0.05 mol และเหลืออยู่ 0.95 mol
** ปริมาณการแตกตัวของกรดอ่อน นอกจากจะบอกเป็นร้อยละแล้ว ยังสามารถบอกโดยใช้ค่าคงที่สมดุล
ของปฏิกิริยาก็ได้ เรียกว่า ค่าคงที่สมดุลของกรด หรือ ค่าคงที่การแตกตัวของกรด (acid ionization
constant : Ka)
** ส่วนเบสอ่อน เรียกว่า ค่าคงที่สมดุลของเบส หรือ ค่าคงที่การแตกตัวของเบส (base ionization
constant : Kb) เช่น ถ้า MOH เป็นเบสอ่อน
ค่าคงที่การแตกตัวของกรด (Ka) และค่าคงที่การแตกตัวของเบส (Kb) เป็นค่าที่บอกให้ทราบว่ากรดอ่อน
หรือเบสอ่อนนั้นแตกตัวเป็นไอออนได้มากน้อยเพียงใด กรดที่มีค่า Ka สูงจะแตกตัวเป็นไอออนได้มากกว่ากรดที่มีค่า
Ka ต่ำ และเบสที่มีค่า Kb สูงจะแตกตัวเป็นไอออนได้มากกว่าเบสที่มีค่า Kb ต่ำ
กรดอ่อนที่มี H 1 อะตอม ใน 1 โมเลกุล เช่น HA เรียกกรดประเภทนี้ว่า กรดโมโนโปรติก (monoprotic)
ได้แก่ CH3COOH, HCOOH, HF, HCN เป็นต้น
แสดงค่าคงที่การแตกตัวของกรดบางชนิดในน้ำที่ 25 oC
(ที่มา : สุนทร พรจำเริญ เอกสารประกอบการสอนวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์)