กรด เบส น่ารู้ ^___^
สารละลายอิเล็กโทรไลต์และนอนอิเล็กโทรไลต์
(ที่มา : http://firewall.nkw.ac.th/media/4/C1_1.htm)
สารละลายอิเล็กโทรไลต์ (electrolyte) หมายถึง สารที่หลอมเหลวหรือละลายน้ำแล้ว
แตกตัวให้ไอออนได้ จึงนำไฟฟ้าได้ เช่น NaCl (s)
(ที่มา : http://firewall.nkw.ac.th/media/4/C1_1.htm)
สารนอนอิเล็กโทรไลต์ (non-electrolyte) เป็นสารที่ไม่แตกตัวเป็นไอออน ส่วนใหญ่
เป็นสารประกอบโคเวเลนต์เช่น C6H12O6, C2H5OH
หากนักเรียนนำสารละลายอิเล็กโทรไลต์และนอนอิเล็กโทรไลต์ บางชนิดมาทดสอบ
การนำไฟฟ้า จะพบว่า
(ที่มา : สุนทร พรจำเริญ เอกสารประกอบการสอนเรื่องกรด-เบส โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์)
1. สารละลายมีทั้งชนิดที่นำไฟฟ้าและไม่นำไฟฟ้า
2. สารละลายอิเล็กโทรไลต์แก่ ได้แก่ HCl, NaOH, KNO3, NaCl ตัวละลายแตกตัวให้ไอออนได้มาก
จึงนำไฟฟ้าได้ดีและอาจมีสมบัติเป็นกรด หรือเบส หรือกลางก็ได้
3. สารละลายอิเล็กโทรไลต์อ่อน ได้แก่ CH3COOH, NH4OH ตัวละลายแตกตัวเป็นไอออนได้น้อย
จึงนำไฟฟ้าได้น้อย และอาจมีสมบัติเป็นกรด เบส หรือกลาง ก็ได้
4. สารละลายนอนอิเล็กโทรไลต์ ได้แก่ C6H12O6, C2H5OH ตัวละลายไม่แตกตัวเป็นไอออนจึงไม่นำไฟฟ้า
และมีสมบัติเป็นกลางเสมอ
5. สารละลายที่มีสมบัติเป็นกรดหรือเบสจะนำไฟฟ้าได้เสมอ ส่วนสารละลายที่มีสมบัติเป็นกลางมีบางชนิดที่
นำไฟฟ้าได้และบางชนิดไม่นำไฟฟ้า
สำหรับไอออนในสารละลายกรด คือ ไฮโดรเจนไอออน (H+) หรือ ไฮโดรเนียมไอออน (H3O+)
(ที่มา : http://discover.edventures.com/functions/termlib.php? action=&single=&word=hydronium+ion)
และ http://www.jasra.com/hydrosciences.htm )
สำหรับไอออนในสารละลายเบส คือ ไฮดรอกไซด์ ไอออน (OH-)
![]()
สารละลายที่ตัวละลายแตกตัวให้ไอออนได้ เรียกว่า “สารละลายอิเล็กโทรไลต์
(ที่มา : http://www.worsleyschool.net/science/files/pH/page.html )
![]()