ระบบต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์
![]() |
อวัยวะระบบย่อยอาหารประกอบด้วย
|
กระบวนการในการย่อยอาหาร
1. การย่อยเชิงกล เป็นการเปลี่ยนแปลงอาหารให้มีขนาดอนุภาคเล็กลง โดยการบดเคี้ยวของฟัน
2. การย่อยเชิงเคมี เป้นการเปลี่ยนแปลงอาหารให้มีขนาดอนุภาคเล็กลง โดยอาศัยเอนไซม์หรือน้ำย่อย
เอนไซม์
เอนไซม์เป็นสารประกอบประเภทโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่เร่งอัตราการเกิด
ปฏิกิริยาชีวเคมีในร่างกาย เอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยสารอาหารเรียกว่า "น้ำย่อย" เอนไซม์มีสมบัติที่สำคัญ ดังนี้
- เป็นสารประเภทโปรตีนที่สร้างขึ้นจากสิ่งมีชีวิต
- ช่วยเร่งปฏิกิริยาในการย่อยอาหารให้เกิดเร็วขึ้นและเมื่อเร่งปฏิกิริยาแล้วยังคงมีสภาพเดิมสามารถใช้
เร่งปฏิกิริยาโมเลกุลอื่นได้อีก
- มีความจำเพาะต่อสารที่เกิดปฏิกิริยาชนิดหนึ่ง ๆ
- เอนไซม์จะทำงานได้ดีเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์
1. อุณหภูมิ เอนไซม์แต่ละชนิดทำงานได้ดีที่อุณหภูมิต่างกัน แต่เอนไซม์ในร่างกายทำงานได้ดี
ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส
2. ความเป็นกรด-เบส เอนไซม์บางชนิดทำงานได้ดีเมื่อมีสภาพที่เป็นกรด เช่น เอนไซม์เพปซินใน
กระเพาะอาหาร เอนไซม์บางอย่างทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบส เช่น เอนไซม์ในลำไส้เล็ก เป็นต้น
3. ความเข้มข้น เอนไซมืที่มีความเข้มข้นมากจะทำงานได้ดีกว่าเอนไซม์ที่มีความเข้มข้นน้อย
การทำงานของเอนไซม์
1. เอนไซม์ในน้ำลาย ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นเบสเล็กน้อย เป็นกลาง หรือเป็นกรดเล็กน้อยจะ
ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำตาลและที่อุณหภูมิปกติของร่างกายประมาณ 37 องศาเซลเซียส
2. เอนไซม์ในกระเพาะอาหาร ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นกรด และที่อุณหภูมิปกติของร่างกาย
3. เอนไซม์ในลำไส้เล็ก ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นเบส และอุณหภูมิปกติของร่างกาย
สารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่จะถูกย่อยให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่สุด ดังนี้
คาร์โบไฮเดรต --------------> กลูโคส
โปรตีน --------------> กรดอะมิโน
ไขมัน --------------> กรดไขมัน + กลีเซอรอล
การทำงานของระบบย่อยอาหาร
ปาก | เมื่ออาหารเข้าปากฟันจะทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลง โดยมีลิ้นช่วยในการคลุกเคล้าอาหารให้ผสมกับน้ำลายที่ผลิตจากต่อมน้ำลายใต้หู ใต้ลิ้น และใต้ขากรรไกร ทำให้อาหารลื่น อ่อนนุ่ม ในน้ำลายจะมีเอนไซม์ชื่อ ไทยาลิน(Ptyalin) ซึ่งเป็นอะไมเลสชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาในการย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล เราจึงรู้สึกหวานเมื่อเราอมข้าว |
หลอดอาหาร | เป็นกล้ามเนื้อเรียบทำหน้าที่บีบรัดอาหารให้เคลื่อนที่ลงสู่กระเพาะอาหาร |
กระเพาะอาหาร | จะสร้างเอนไซม์เพปซินและกรดไฮโดรคลอริออกมา เพื่อช่วยในการย่อยอาหารประเภทโปรตีนให้มีขนาดเล็กลง และส่งไปย่อยต่อที่ ลำไส้เล็ก ส่วนสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และไขมันจะไม่มีการย่อยในกระเพาะอาหาร |
ลำไส้เล็ก |
จะมีการย่อยสารอาหารทั้งประเภทโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตซึ่งจะมีเอนไซม์ที่ผลิตจากหลายแหล่งเพื่อช่วยในการย่อย ได้แก่
1. ผนังลำไส้เล็ก สร้าง 3. ตับ สร้างน้ำดี ไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี ซึ่งมีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนๆ น้ำดีไม่ใช่เอนไซม์จึงไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการย่อยแต่น้ำดีจะช่วยทำให้ไขมันแตกตัวออกมาเป็นเม็ดเล็กๆเพื่อให้เอนไซม์ไลเพสย่อยไขมันได้ง่ายขึ้น บริเวณลำไส้เล็กจึงเป็นบริเวณที่มีการย่อยสารอาหารทั้งโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเตรต อย่างสมบูรณ์และสามารถดูดซึมผ่านหนังลำไส้เล็กเข้าสู่หลอดเลือด และถูกส่งไปเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ส่วนกากอาหารจะเคลื่อนต่อไปยังลำไส้ใหญ่ |
ลำไส้ใหญ่ | จะไม่มีการย่อยอาหารแต่จะมีการดูดซึมน้ำ แร่ธาตุ วิตามินบางชนิดและกลูโคสออก จากกากอาหารกลับเข้าสู่กระแสเลือดทำให้กากอาหารเหนียวข้นและเป็นก้อน จากนั้นจะเคลื่อนไปรวมกันที่ ลำไส้ตรง และขับออกทางทวารหนักเป็นอุจจาระ |
ผมกำลังเรียนอยู่เลยครับ
ดิฉันเพิ่งได้รู้จักเรื่องของ blog โดยอาจารย์พูนศักดิ์ เรียนตามตรงว่า ดิฉันเป็นครูบ้านนอกที่พยายามศึกษาและก้าวให้ทัน ICT
ดิฉันชอบที่จะเรียนรู้และตั้งใจที่จะเป็นครูที่ใช้ ICT ในการเรียนการสอนค่ะ ดิฉันอยากเข้ารับการอบรมการสร้าง blog และอยาก
ใช้งานblogในการสอนเร็วๆค่ะ ไม่ทราบว่าจะเข้ารับการอบรม ฝึกทำ ที่ไหน ขอคำแนะนำด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
ครูศรีกัลยา