ระบบต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
![]() |
อวัยวะที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์เพศชายประกอบด้วย 1. อัณฑะ(Testis) เป็นต่อมรูปไข่ มี 2 อัน ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (Sperm) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย และสร้างฮอร์โมนเพศชายเพื่อควบคุมลัษณะต่าง ๆ ของเพศชาย ภายในอัณฑะประกอบด้วย หลอดสร้างตัวอสุจิ (Seminaferous) เป็นหลอดเล็ก ๆ ขดไปมาอยู่ภายใน ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ 2. ถุงหุ้มอัณฑะ (Scrotum) อยู่นอกช่องท้อง ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างตัวอสุจิ ซึ่งอสุจิจะเจริญได้ดีที่อุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิปกติของร่างกายประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส โดยอัณฑะทั้งสองอันจะอยู่ภายในถุงอัณฑะ 3. หลอดเก็บตัวอสุจิ (Epidymis) อยู่ด้านบนของอัณฑะ ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิจนตัวอสุจิเติบโตและแข็งแรงพร้อมที่จะปฏิสนธิ 4. หลอดนำตัวอสุจิ (Vas Deferens) อยู่ต่อจากหลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ 5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal Vesicle) ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ เช่น น้ำตาลฟรั๊กโตส วิตามินซี โปรตีนโกลบูลิน เป็นต้น และสร้างของเหลวมาผสมกับอสุจิเพื่อทำให้เกิดสภาพที่เหมาะสมสำหรับตัวอสุจิ 6. ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland) อยู่ตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นเบสอ่อน ๆ เข้าไปในท่อปัสสาวะ เพื่อทำลายฤทธิ์กรดในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดสภาพที่เหมาะสมกับตัวอสุจิ 7. ต่อมคาวเปอร์ (Cowper Gland) อยู่ใต้ต่อมลูกหมากลงไป เป็นกระเปาะเล็ก ๆ ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ ทำให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่เร็ว |

ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
- ส่วนหัว เป็นส่วนที่มีนิวเคลียสอยู่
- ส่วนร่างกาย มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกยาว
- ส่วนหาง เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนที่
ตัวอสุจิจะมีค่า pH ประมาณ 7.35-7.50 มีสภาวะค่อนข้างเป็นเบส ในน้ำอสุจินอกจากจะมีตัวอสุจิแล้ว ยังมีส่วนผสมของสารอื่น ๆ อีกด้วย
ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

อวัยวะที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบด้วย
1. รังไข่ (Ovary) มีรูปร่างคล้ายมะม่วงหิมพานต์ มี 2 อันอยู่บริเวณปีกมดลูกแต่ละข้าง ทำหน้าที่ดังนี้
- ผลิตไข่ (Ovum) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง โดยปกติไข่จะสุกเดือนละ 1 ใบ จากรังไข่แต่ละข้างสลับกันทุกเดือน และออกจากรังไข่ทุกรอบเดือน เรียกว่า การตกไข่ ตลอดช่วงของเพศหญิงจะมีการผลิตไข่ประมาณ 400 ใบ เริ่มตั้งแต่อายุ 12 ปี ถึง 50 ปี จึงจะหยุดผลิต เซลล์ไข่จะมีอายุอยู่ได้นานประมาณ 24 ชั่วโมง
- สร้างฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งมีหลายชนิด ที่สำคัญมีดังนี้
1) เอสโทรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับมดลูก ช่องคลอด ต่อมน้ำนม และควบคุมการเกิดลักษณะต่าง ๆ ของเพศหญิง
2) โปรเจสเทอโรน (Progesterone) เป็นฮอร์โมนที่ทำงานร่วมกับเอสโทรเจนในการควบคุมเกี่ยวกับการเจริญของมดลูก การเปลิ่ยนเยื่อบุมดลูกเพื่อเตรียมรับไข่ที่ผสมแล้ว
2. ท่อนำไข่ (Oviduct) หรือ ปีกมดลูก (Fallopion Tube) เป็นทางเชื่อมระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก โดยมีปลายข้างหนึ่งเปิดอยู่ใกล้กับรังไข่ เรียกว่า ปากแตร (Funnel) บุด้วยเซลล์ที่มีขนสั้น ๆ ทำหน้าที่พัดโบกไข่ที่ตกมาจากรังไข่ให้เข้าไปในท่อนำไข่ ท่อนำไข่เป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่
3. มดลูก (Uterus) มีรูปร่างคล้ายผลชมพู่ หรือ คล้ายสามเหลี่ยมหัวกลับลง อยู่ในบริเวณอุ้งกระดูกเชิงกราน ภายในเป็นโพรง ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว และเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
4. ช่องคลอด (Vagina) อยู่ต่อจากมดลูกลงมา ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูกเป็นทางออกของทารกเมื่อครบกำหนดคลอด และยังเป็นช่องให้ประจำเดือนออกมาด้วย
การปฏิสนธิ(Fertilization) คือกระบวนการที่เซลล์สืบพันธุ์เพศชายและเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิงผสมกัน
เกิดเป็นเซลล์ใหม่ 1 เซลล์ การปฏิสนธิจะเกิดขึ้นได้ ฝ่ายชายต้องสอดองคชาตเข้าไปในช่องคลอดของฝ่ายหญิง
อสุจินับล้านตัวจะถูกฉีดออกจากองคชาต จากนั้นอสุจิจะว่ายเข้าไปตามท่อรังไข่ และจะมีอสุจิเพียงตัวเดียวที่
สามารถเจาะผ่านผนังเซลล์ไข่เข้าไปผสมกับไข่ได้ อสุจิตัวอื่นๆจะตายหมด

ระยะการปฏิสนธิ (Fertilization stage)
ประกอบด้วย 5 ระยะ คือ
1. เครเวจ (Cleavage) เป็นระยะที่อสุจิกับไข่รวมตัวกันเป็นเซลล์เดียวแล้วเกิดการแบ่งเป็นออกเป็น 2 เซลล์อีกครั้งหนึ่ง
2. มอรูลา (Morula) เป็นระยะต่อจากเครเวจ เซลล์ 2 เซลล์แบ่งเซลล์ต่อไปจนกระทั่งมีจำนวนเซลล์ครบถ้วน
3. บลาสทูลา (Blastula) เป็นระยะต่อจากโมรูลา เซลล์เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเซลล์
4. แกสตรูลา (Gastrula) เป็นระยะต่อจากบาสตรูลา ระยะนี้คือระยะที่เซลล์มีการเคลื่อนย้ายตำแหน่งแล้วจัดรูปแบบของ
ตำแหน่งเซลล์ใหม่
5. เอมบริโอ (Embryo) เป็นระยะสุดท้ายของการปฏิสนธิ ระยะนี้เป็นระยะที่เซลล์ต่างๆเปลี่ยนแปลงรูปแบบจนเสร็จสมบูรณ์
ได้ตัวอ่อนที่ปรากฏรูปร่างที่ชัดเจน คือ มีผิวหนัง ประสาทสัมผัส และอวัยวะภายใน
ผมกำลังเรียนอยู่เลยครับ
ดิฉันเพิ่งได้รู้จักเรื่องของ blog โดยอาจารย์พูนศักดิ์ เรียนตามตรงว่า ดิฉันเป็นครูบ้านนอกที่พยายามศึกษาและก้าวให้ทัน ICT
ดิฉันชอบที่จะเรียนรู้และตั้งใจที่จะเป็นครูที่ใช้ ICT ในการเรียนการสอนค่ะ ดิฉันอยากเข้ารับการอบรมการสร้าง blog และอยาก
ใช้งานblogในการสอนเร็วๆค่ะ ไม่ทราบว่าจะเข้ารับการอบรม ฝึกทำ ที่ไหน ขอคำแนะนำด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
ครูศรีกัลยา