ศิลปะกรีก
ศิลปะกรีก (Greek Art)
ชาวกรีกมีความเชื่อว่า “มนุษย์เป็นมาตรวัดสรรพสิ่ง” ซึ่งความเชื่อนี้เป็นรากฐาน ทางวัฒนธรรมของชาวกรีก เทพเจ้าของชาวกรีกจะมีรูปร่างอย่างมนุษย์ และไม่มีความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายเหมือนชาวอียิปต์ ดังนั้น จึงไม่มีสุสานหรือพิธีฝังศพที่ซับซ้อนวิจิตรเหมือนกับชาวอียิปต์
จิตรกรรม
กรีกไม่นิยมสร้างผลงานจิตรกรรม เขาถือว่าจิตรกรรมไม่สามารถถ่ายทอดรูปแบบที่มีลักษณะที่แท้จริงได้ ดังนั้นงานจิตรกรรมของกรีก จึงออกมาในรูปแบบการตกแต่ง เช่น ภาพเขียนตามผนังหรือบนภาชนะต่างๆ เรื่องราวที่นำมาเขียนส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเล่า จิตรกรรมของกรีกที่รู้จักกันดีก็มีแต่ภาพวาดระบายสีตกแต่งผิวแจกันเท่านั้นที่ชาวกรีกนิยมทำมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 1เป็นภาพที่มีรูปร่างที่ถูกตัดทอนรูปจนใกล้เคียงกับรูปเรขาคณิต มีความเรียบง่ายและคมชัด สีที่ใช้ได้แก่ สีดิน คือเอาสีดำอมน้ำตาลผสมบางๆ ระบายสีเป็นภาพบนพื้นผิวแจกันที่เป็นดินสีน้ำตาลอมแดง แต่บางทีก็มีสีขาว และสีอื่นๆ ร่วมด้วย เทคนิคการใช้รูปร่างสีดำ ระบายพื้นหลังเป็นสีแดงนี้ เรียกว่า “จิตรกรรมแบบรูปตัวดำ” และทำกันเรื่อยมาจนถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 1 มีรูปแบบใหม่ขึ้นมาคือ “จิตรกรรมแบบรูปดัวแดง” โดยใช้สีดำอมน้ำตาลเป็นพื้นหลังภาพ ตัวรูปเป็นสีส้มแดง หรือสีน้ำตาลไม้ ตามสีดินของพื้นแจกัน
http://www.ipesk.ac.th/VISUAL%20ART/lesson427.html
ประติมากรรม
ประติมากรรมของกรีกส่วนมากเป็นเรื่องศาสนา ซึ่งสร้างถวายเทพเจ้าต่าง ๆ วัสดุที่นิยมใช้สร้างงานได้แก่ ทองแดง และดินเผา ในสมัยต่อมานิยมสร้างจากสำริด และหินอ่อนเพิ่มขึ้น ในสมัยแรก ๆ รูปทรงยังมีลักษณะคล้ายรูปเรขาคณิตอยู่
http://www.ipesk.ac.th/VISUAL%20ART/lesson427.html
ต่อมาในสมัยอาร์คาอิก (200 ปีก่อน พ.ศ.) เริ่มมีลักษณะคล้ายกับมนุษย์มากขึ้นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้า รูปนักกีฬา รูปวีรบุรุษ รูปสัตว์
http://www.ipesk.ac.th/VISUAL%20ART/lesson427.html
ในยุคหลังๆ รูปทรงจะมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น แสดงท่าทางการเคลื่อนไหวที่สง่างาม มีการขัดถูผิวหินให้เรียบดูคล้ายผิวมนุษย์ มีลีลาที่เป็นไปตามธรรมชาติมากขึ้น ทำให้ประติมากรรมกรีกจัดเป็นยุคคลาสสิค ที่ให้ความรู้สึกในความงามที่เป็นความจริงตามธรรมชาติ
http://www.ipesk.ac.th/VISUAL%20ART/lesson427.html
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมกรีก ใช้ระบบโครงสร้างแบบเสาและคาน เช่นเดียวกับอียิปต์ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จากฐานอาคารซึ่งยกเป็นชั้นๆ ก็จะเป็นฝาผนังโดยปราศจากหน้าต่าง ซึ่งจะกั้นเป็นห้องต่างๆ 1 - 3 ห้อง ปกติสถาปนิกจะสร้างเสารายล้อมรอบอาคารหรือสนามด้วย มีการสลับช่วงเสากัน
อย่างมีจังหวะระหว่างเสากับช่องว่างระหว่างเสา ทำให้พื้นภายนอกรอบๆ วิหารมีความสว่างและมีรูปทรงเปิดมากกว่าสถาปัตยกรรมอียิปต์ และมีขนาดเหมาะสมไม่ใหญ่โตจนเกินไป มีรูปทรงเรียบง่าย
สถาปัตยกรรมกรีกแบบพื้นฐาน ได้แก่ เกิดในสมัยอาร์คาอิก คือ แบบดอริก และ แบบไอโอนิก ซึ่งแบบหลังพบแพร่หลายทั่วไปในแถบเอเชียไมเนอร์ เสาหล่านี้แต่ละต้นจะมีคานพาดหัวเสาถึงกันหมด ในสมัยต่อมาเกิดสถาปัตยกรรมอีแบบหนึ่งคือ แบบโครินเธียน หัวเสาจะมีลายรูปใบไม้
http://portal.edu.chula.ac.th/ben10/assets//9125.jpg
งานสถาปัตยกรรมกรีกแบ่งตามลักษณะหัวเสา 3 แบบ คือ 1. แบบดอริก (Doric) 2. แบบไอโอนิก (Ionic) และ 3. แบบคอรินเทียน (Corinthian)
ชาวกรีกนิยมสร้างอาคารโดยใช้สถาปัตยกรรมทั้งสามชนิดนี้ผสมผสานกัน โดยมีการตกแต่งประดับประดาด้วยการแกะสลักลวดลายประกอบ บางทีก็แกะสลักรูปคนประกอบไปด้วย นอกจากนี้ยังมีการใช้สีระบายตกแต่ง โดยสีน้ำเงินได้รับความนิยมใช้ระบายฉากหลังรูปลวดลายที่หน้าจั่ว และสีแดงใช้ระบายฉากหลังสำหรับประติมากรรมที่หัวเสาและลายคิ้วคาน
http://www.ipesk.ac.th/VISUAL%20ART/lesson427.html