ประพจน์
ประพจน์ (Statement)
ตรรกศาสตร์เป็นวิชาหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมากเพราะว่าในสภาพสังคมทุกวันนี้ต้องมีการติดต่อ สื่อสารอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ลักษณะการพูดหรือเขียนข้อความ ทั้งนี้เพื่อที่จะให้อีกฝ่ายหนึ่งได้เข้าใจ รับรู้ และบางครั้งก็ต้องมี การตัดสินใจ ซึ่งการรับรู้และการตัดสินใจจะเกิดขึ้นได้นั้น ผู้ที่รับฟังหรืออ่านข้อความดังกล่าวนั้น ต้องรู้ว่าข้อความที่พูดหรือเขียนมานั้น เป็นจริงหรือเท็จ
ในการพิจารณาว่าคำพูดหรือข้อความใดเป็นจริงหรือเท็จนั้น จะเกี่ยวข้องกับวิชาตรรกศาสตร์ เพราะวิชาตรรกศาสตร์ เราจะศึกษา ว่าคำพูดหรือข้อความในลักษณะใดที่เป็นจริง คำพูดหรือข้อความใดที่เป็นเท็จ ดังนั้น เราต้องพิจารณาถึงลักษณะของข้อความที่ใช้ในโลกนี้ว่ามีลักษณะใดบ้าง นักเรียนลองพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. กรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย
2. จังหวัดเชียงใหม่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย
3. จังหวัดภูเก็ตเป็นเกาะ
4. 5+3 = 10
5. ไปดูหนังกันไหม
นักเรียนจะพบว่าข้อความ 1 และ 3 เราบอกได้ว่าเป็นจริง ข้อความ 2 และ 4 บอกได้ว่าเป็นเท็จ ส่วนข้อความ 5 เราไม่สามารถบอกได้ว่า จริงหรือเท็จเพราะข้อความนั้นอยู่ในลักษณะคำถาม
ในทางตรรกศาสตร์ เราจึงแบ่งข้อความออกเป็น 2 แบบ คือข้อความที่บ่งบอกได้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ ซึ่งข้อความในลักษณะนี้ เราเรียกว่า ประพจน์ กับข้อความที่เราไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ ข้อความในลักษณะเช่นนี้เราไม่เรียกว่าประพจน์ และเรามีข้อตกลงดังนี้
1. เราเรียกข้อความที่เป็นจริงว่าข้อความที่มีค่าความจริงเป็นจริง และใช้ T แทนค่าความจริงเป็นจริง
2. เราเรียกข้อความที่เป็นเท็จว่าข้อความที่มีค่าความจริงเป็นเท็จ และใช้ F แทนค่าความจริงเป็นเท็จ
ประโยคที่เป็นประพจน์ เช่น
งง มาก ค่ะ