ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ


ผู้แต่ง
พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย)เป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 ของสุโขทัย
ชื่อเดิม
เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา
ความหมาย
เรื่องราวของสามโลก คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ
จุดมุ่งหมาย
– ชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสาม ที่มีแต่การแปรเปลี่ยน ไม่แน่นอน มีแต่อนิจจลักษณะ
– ชี้ให้มนุษย์หาทางหลุดพ้นไปจากโลกทั้งสามเพื่อไปอยู่ในโลกุตรภูมิ หรือนิพพาน
– เน้นเรื่องกฎแห่งกรรม โดยเริ่มเนื้อหาจากนรกภูมิ
ผลจากการฟัง
– ทำให้บรรลุนิพพาน
– ได้เกิดเป็นเทพยดาในสวรรค์อันเป็นโลกทิพย์
– มีโอกาสเกิดมาพบพระศรีอาริย์ผู้จะมาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
คุณค่า
ด้านวรรณคดี – เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าคนไทยรู้จักแต่งวรรณคดีตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ด้านศาสนา – เป็นการนำเสนอปรัชญาทางพุทธศาสนา
ด้านจริยธรรม – กำหนดกรอบการปฏิบัติตนให้คนในสังคมทั้งผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง ทำให้สังคมสงบสุข
ด้านประเพณีและวัฒนธรรม
– แสดงให้เห็นความเชื่อที่ตกทอดมาสู่ประเพณีและวัฒนธรรมในปัจจุบัน เช่น
– การจัดดอกไม้ธูปเทียนให้คนตายก่อนปิดฝาโลง เพื่อให้ผู้ตายนำดอกไม้นั้นไปสักการะพระจุฬามณีเจดีย์ในสวรรค์
– การเผาศพในเมรุเปรียบเสมือนการเดินทางขึ้นเขาพระสุเมรุไปสู่สวรรค์
ด้านศิลปะ
– ก่อให้เกิดงานจิตรกรรมและสถาปัตยกรรมตามแผนภูมิจักรวาลในเรื่องไตรภูมิพระร่วง
แนวคิด
– การเกิดในท้องมารดาเป็นทุกข์แบบหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องน่ายินดีเลย
– กวีมีความรู้เรื่องการกำเนิดมนุษย์ตามแบบวิทยาศาสตร์
การใช้ภาษา
– มีการใช้คำเป็นจังหวะน่าฟัง
– มีการใช้คำสัมผัสคล้องจอง
– มีการใช้โวหารภาพพจน์ โดยเฉพาะอุปมาโวหาร
