กาพย์เห่เรือ

กาพย์เห่เรือเป็นกาพย์สำหรับฝีพายขับเห่ในกระบวนเรือเสด็จ ไม่นับว่าไปในงานพิธี ลำนำสำหรับเห่เรือมี 3 อย่าง คือ
1. ช้าลวะเห่ ทำนองเห่ช้า สำหรับตอนเรือเริ่มออก หรือเรือตามน้ำ
2. มูลลวะเห่ ทำนองเห่เร็ว สำหรับตอนนำเรือพายทวนน้ำ หรือเกือบถึงจุดหมายปลายทาง
3. ลวะเห่ เป็นการเห่เรือที่จะถึงจุดหมายปลายทาง
ลักษณะคำประพันธ์
แต่งโคลงสี่สุภาพก่อนแล้วจึงแต่งกาพย์ยานีเลียนแบบ และแต่งกาพย์ยานีพรรณนาเพิ่มเติม ซึ่งเรียกว่า กาพย์ห่อโคลง
วิธีแต่งกาพย์ห่อโคลง มีอยู่ 3 แบบ คือ
1. แต่งกาพย์ยานีก่อนแล้วแต่งโคลงสี่สุภาพเลียนแบบ
2. แต่งโคลงสี่สุภาพก่อนแล้วแต่งกาพย์ยานีเลียนแบบต่อมา
3. แต่งโคลงสี่สุภาพก่อนแล้วแต่งกาพย์ยานีเลียนแบบ และแต่งกาพย์ยานีพรรณนา เพิ่มเติม
ผู้ประพันธ์
เจ้าพระยาธิเบศร์ ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (2258-2298) เป็นโอรสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยกรุงศรีอยุธยา
เนื้อเรื่อง แบ่งออกเป็น 5 ตอน ซึ่งกล่าวพรรณนาถึง
1. กระบวนเรือ
2. พันธุ์ปลา
3. พันธุ์ไม้
4. พันธุ์นก
5. คร่ำครวญรำพึงรำพันถึงนางคนที่รัก
ลักษณะพิเศษของกาพย์เห่เรือ
1. ลักษณะของสำนวนและความหมาย ใช้สำนวนกะทัดรัด มีความหมายเด่นชัดเข้าใจง่ายและมีน้ำหนักอย่างเหมาะสม เช่น
พระเสด็จโดยแดนชล ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพรวพรรณราย พายอ่อนหยับวับงามงอน
2. ลักษณะถ้อยคำ ใช้ถ้อยคำเกลี้ยงเกลาสละสลวย ไพเราะด้วยการสัมผัสและทำให้เกิดภาพพจน์ เช่น
เนื้ออ่อนอ่อนแต่ชื่อ เนื้อน้องหรืออ่อนทั้งกาย
ใครต้องข้องจิตชาย ไม่วายนึกตรึกตรึงทรวง
3. ลักษณะการพรรณนา การพรรณนาความรู้สึกลึกซึ้งและแยบคายมาก เช่น
แก้มช้ำช้ำใครต้อง อันแก้มน้องช้ำเพราะชม
ปลาทุกทุกข์อกตรม เหมือนทุกข์ที่พี่จากนาง
4. ลักษณะอารมณ์ เกิดอารมณ์สะเทือนใจ เช่น
เพรางายวายเสพรส แสนกำสรดอดโอชา
อิ่มทุกข์อิ่มชลนา อิ่มโศกาหน้านองชล
5. ลักษณะการแต่ง แต่งถูกต้อง มีการเล่นอักษร มีสำนวนอุปมาอุปไมย เช่น
รอนรอนสุริยโอ้ อัสดง
เรื่อยเรื่อยลับเมรุลง ค่ำแล้ว
รอนรอนจิตจำนง นุชพี่ เพียงแม่
เรื่อยเรื่อยเรียมคอบแก้ว คลับคล้ายเรียมเหลียว