เขมร
การสร้างคำในภาษาเขมร
1. การสร้างคำโดยการเติมหน่วยคำเข้าข้างหน้าคำเดิม ทำให้คำเดิมพยางค์เดียวเป็นคำใหม่ 2 พยางค์เรียกว่าการลงอุปสรรค บ(บัง,บัน,บำ) เช่น เพ็ญ - บำเพ็ญ ,เกิด - บังเกิด ,โดย-บันโดย
โดยเมื่อ บํ อยู่หน้าวรรคกะ หรือ เศษวรรคจะอ่านว่า "บัง" เช่น บังคม ,บังเกิด,บังอาจ
เมื่อ บํ อยู่หน้าวรรคตะ อ่านว่า "บัน" เช่น บันดาล,บันโดย,บันเดิน
เมื่อ บํ อยู่หน้าวรรคปะ อ่านว่า "บำ" เช่น บำบัด,บำเพ็ญ,บำบวง
2. การสร้างคำโดยการเติมหน่วยคำเข้ากลาง คำหลัก ทำให้คำเดิมพยางค์เดียวเป็นคำใหม่ 2 พยางค์เรียกการลงอาคม
ก. การลง อำ น เช่น จง- จำนง,ทาย -ทำนาย ,อวย-อำนวย
ข. การเติม อำ เช่น กราบ-กำราบ.ตรวจ-ตำรวจ,เปรอ-บำเรอ
ค. การเปลี่ยน ข เป็น ก,ฉ เป็น จ และเพิ่มท เช่น ฉัน-จังหัน,แข็ง-กำแหง
ง. การเติม ง,น,ร,ล เช่น เรียง-ระเบียง,เรียบ-ระเบียบ,ราย-ระบาย
* เนื่องจากภาษาเขมรพยัญชนะคนละกลุ่ม เมื่อประสมตัวเดียวกันจะออกเสียงต่างกัน ซึ่งต่างจากภาษาไทย ลักษณะของภาษาเขมรที่ไทยนำมาใช้จึงมีการเปลี่ยนแปลงรูปบ้างเสียงบ้างตามแบบไทย
ลักษณะคำเขมรในภาษาไทย
1. คำที่มาจากภาษาเขมรส่วนมากมาจากสะกดด้วย จ ญ ร ล เช่น เผด็จ ,บำเพ็ญ,กำธร,ถกล,ตรัส
2. ต้องแปลความหมายจึงจะเข้าใจ ใช้มากในบทร้อยกรอง
3. เมื่อมาใช้ในภาษาไทย ข แผลงกระ เช่น ขจาย-กระจาย,ขโดง -กระโดง
4. นิยมใช้อักษรนำแบบออกเสียงตัวนำโดยพยางค์ต้นออกเสียง อะ กึ่งเสียง พยางค์หลังออกเสียงตามสระที่ผสมอยู่ เช่น สนุก ,สนาน, เสด็จ ถนน,เฉลียว
5. คำเขมรส่วนมากใช้เป็นราชาศัพท์ เช่น เสวย,บรรทม,เสด็จ,โปรด
ประมวลคำยืมจากภาษาเขมรที่ใช้บ่อย
กรง(กฺรง) คือ จดไว้เป็นหลักฐาน; ข้อบังคับ
กรม(กฺรม) คือ สิ่งที่ทำเป็นซี่ๆ สำหรับขังนก เป็นต้น
กรรไตร(กันไตร) คือ ลำดับ, หมวด, หมู่, กอง
กรวด(กฺรวด) คือ เครื่องมือสำหรับตัดโดยใช้หนีบ
กระ คือ หลั่งน้ำอุทิศส่วนกุศล/ชื่อเต่าทะเลหลังเป็นเกร็ดแผ่นโตๆ สีน้ำลายเหลืองปากงุ้ม ขาเป็นพาย
กระฉูด คือ อาการที่ของเหลวพุ่งออกไป
กระชับ คือ แนบแน่น
กระเชอ คือ ภาชนะสานคล้ายกระจาดขนาดเล็ก
กระเดียด คือ เอาเข้าสะเอว
กระโดง คือ ใบเรือ
กระโถน คือ ภาชนะบ้วนน้ำหรือทิ้งของที่ไม่ต้องภารลงไป
กระทรวง(กระ-ซวง) คือ ส่วนราชการเหนือทบวง, กรม
กระท่อม คือ เรือนเล็กทำด้วยไม้หลังคามุงจาก ทำพออยู่ได้
กระบอง คือ ไม้สั้นสำหรับใช้ตี
กระบือ คือ ควาย
กระเพาะ คือ อวัยวะภายในรูปเป็นถุง มีหน้าที่ย่อยอาหาร
กระแส คือ น้ำหรือลมที่ไหล-พัดเรื่อยเป็นแนวไม่ขาดสาย
กังวล คือ มีใจพะวงอยู่
กัน คือ โกนให้เสมอกัน
กำจัด คือ ขับไล่, ปราบปราม
กำเดา คือ เลือดที่ออกทางจมูก
กำธร คือ สนั่น, หวั่นไหว
กำแพง คือ เครื่องกั้น, เครื่องล้อมที่ก่อด้วยอิฐ
กำลัง คือ แรง ; สิ่งที่ทำให้เกิดอำนาจความเข้มแข็ง
ขจร(ขะจอน) คือ ฟุ้งไปในอากาศ
เต้าหู้ คือ ถั่วเหลืองโม่เป็นแป้ง ทำเป็นแผ่นๆ ก้อนๆ
เต้าฮวย คือ ขนมหวานทำด้วยน้ำถั่วเหลืองแข็งตัว ปรุงด้วยน้ำขิงต้มน้ำตาล