ประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ
ประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ
ที่มา :
http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:jRzaY-P-LUuYyM:http://www.feedmewp.com/wp-content/uploads/2009/03/20090319-feedmewp-pyramids-iphone.jpg&t=1
อียิปต์ เป็นประเทศที่อยู่ทางตอนบนของอาฟริกา มีแน่น้ำไนล์เป็นเส้นเลือดคอยหล่อเลี้ยงดินแดนนี้
ให้อุดมสมบูรณ์ จนกล่าวได้ว่านับเป็นอีกหนึ่งอารยธรรมที่อุดมณ์สมบูรณ์
เกือบถึงที่สุดในยุค แรกๆ สองฟาก ฝั่งแน่น้ำไนล์เต็มไปด้วยความอุดมอย่างยิ่งยวดแม้ว่าน้ำจะท่วมทุกปีก็ตาม ผู้คนที่มาลงหลักปักฐานที่นี่มีหลักฐาน
เชื่อได้ว่ามีมาตั้งแต่ยุคสมัยหินเก่า และก็ยังเป็นไปได้อีกว่าผู้คนที่อยู่อาศัยที่นี่อยู่มาตั้งแต่สมัยหินเก่าจน ถึงสมัย ราชวงศ์
(ประมาณ 8000-3100) ปีก่อนศริศตกาลอีกด้วย
ผู้คนแถบนี้นับว่าเป็นคนช่างคิดและมีวิยาการสูง พวกเขามีความสามารถในการควบคุมแม่น้ำไนล์ที่จะต้องเอ่อท่วมฝั่งทุกปี และยังสามารถมีกระบวนการทาง
เกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
รู้เรื่องการผสมพันธุ์สัตว์อย่างเป็นระบบ การเก็บสะสมเมล็ดพันธุ์พืช ทำให้ ประเทศอียิปต์ในสมัยนั้นร่ำรวยขึ้นจนสามารถก่อสังคมขึ้น
อย่างมีประสิทธิภาพ สังคมอียิปต์โบราณนั้นมีการแบ่งหน้าที่ของชนชั้นอย่างชัดเจน มีชนชั้นพระที่คอยตอบสนองเรื่อง
ความต้องการทางด้านจิตใจ มีนักรบคอยป้องกัน
ดินแดน
และยังสามารถถ่ายโอนแรงงานที่เป็นเกษตกรมา เป็นแรงงานกรรมกรเพื่อก่อสร้างสิ่งก่อสร้างอันยิ่งใหญ่เช่น ปิรามิดได้อย่างไม่ยากเย็น
ดินแดนอียิปต์
ภายหลัง เมื่อกลายเป็นสังคมที่มีการปกครองโดยชั้นกษัตริย์ ยังมีการแบ่งแยกเป็นสองส่วนคืออียิปต์ตอนเหนือ
และอียิปต์ ตอนใต้ บางที่อียิปต์ตอนเหนือก็เข้มแข็งมากกว่า
บางที่อียิปต์ตอนใต้ก็มีอำนาจมากกว่า
เป็นลักษณะนี้อยู่นาน จนถึงสมัยกษัตริย์ เมเนส (นักอียิปต์วิทยาสันนิษฐานว่าเป็นพระองค์เดียวกันกับราชันต์แมงป่อง)
ฟาโรห์จาก อียิปต์ตอนเหนือ
ความสมดุลระหว่างสองเมืองก็เปลี่ยนแปลงไป ความเจริญก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้น
มีการพัฒนา อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินผา เครื่องโลหะต่างๆ
และเริ่มมีอักษรเฮียโรกลิฟฟิคใช้กันแล้ว
นอกจากนียังมีความ เชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย ดังนั้นจึงมีการคิดวิธีดองศพด้วยวิธีการทำมัมมี่ ช่วงเวลาที่ถือว่าเป็นความรุ่งเรือง
ของอารธรรมอียิปต์ช่วงแรกคือช่วง
อาณาจักรเก่า (2650-2150 ก่อนศริสตศักราช) เมืองหลวง เมือง แรกคือ ธีนิส ต่อมาเปลี่ยนไปอยู่ที่เมมฟิสในอียิปต์ตอนล่าง
ฟาโรห์ซึ่งเป็น ตำแหน่งกษัตริย์ของนครเป็นผู้เดียวที่อาจจะสั่งให้มีการก่อสร้างปิรามิด เพื่อนเก็บศพของพระองค์
ต่อมา สังคมอียิปต์เริ่มสั่นคลอน เกิดสงครามระหว่าง
ข้าหลวงในราชสำนัก
แผ่นดินกลับแยกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย เหมือนเมื่อครั้งยังไม่เจริญทางด้านอารยธรรม แต่ก็ยังมีการรวมกันฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งในช่วงอาณาจักรกลาง
เมื่อโครงการชลประธามฟายุมเกิดขึ้น และเมื่อฟาโรห์ขยายอำนาจของพระองค์ลงไปทางตอนใต้ทางนูเบีย และทางตะวันออกเฉียงเหนือทางไซนาย
แต่ถึงแม้ว่าอียิปต์
จะประสบความสำเร็จอย่างสูงในการรวบรวมและ
ขยายดินแดน แต่ช่วงยุคนี้อียิปต์ยังต้องเผชิญต่อการอพยพของชนเผ่าฮิกซอส ชนชาวเอเชียซึ่งทำให้อียิปต์ต้องซบเซา
ลงอีก
กว่าจะผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากมาสู่การฟื้นตัวเต็มที่ก็ต้องผ่านมาถึง ราชวงศ์ที่ 17 อียิปต์ก็ลุกขึ้นมา
โดดเด่นอีกครั้ง ช่วงนี้เป็นช่วงที่เรารู้จักกันในนามอาณาจักรใหม่
(1560-1085ก่อนค.ศ.) มันเป็นศรรตวรรษ ใหม่ของสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ไม่ว่าที่คาร์นัก
อาบูเซมเบล หรือลักซอร์ หรือว่าเป็นสมบัติของตุตันคาเมน (ราชวงศ์ที่ 18)
หรือการเขียนหนังสือลงบนกระดาษปาปิรุสก็เกิดขึ้นในยุคนี้
หลังจากราชวงศ์ที่ 20 เป็นต้นมา อียิปต์เริ่มอ่อนแอลงเรื่อยๆ ทั้งจากความยุ่งเหยิงภายในและความ
ที่ถูกรุกรานจากศัตรูภายนอก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "คนทะเล" (อาจเป็นชาวเอเซียหรืออีเจี้ยน)
ส่วนภายใน บัลลังก์ของฟาโรห์ก็ถูกครอบครองโดยราชวงศ์ลิเบียเป็นราชวงศ์ที่
22 และเอธิโอเปียเป็นราชวงศ์ที่ 25 นอกจากนี้ยังถูกพวกอัสซีเรียและบาบิโลเนียรุกรานและในที่สุดก็ตกอยู่ภายใต้ การปกครองของพวกเปอร์เอียิปต์ก็ได้ตก
อยู่ภายใต้
การปกครอง ของนาย พลปโตเลมี
(ปโตเลมีที่ 1เป็นชาวกรีกมาซีโดเนียน) พระองค์ได้นำวัฒนธรรมกรีกเข้ามาเผยแพร่และ
ย้ายเมืองหลวงจากเมมฟิสไปยัง
อเล็กซานเดรีย
โดยในเฉพาะในสมัยของปโตเลมีที่ 2
และ 3 ถือว่าเป็นซียในปี 525 ก่อน ค.ศต่อมาได้มีการรบพุ่งแย่งชิงดินแดนกันอยู่หลายครั้งจนในที่สุดยุคทอง
ของอียิปต์เลยที่เดียว มีการขยายอาณาเขตออกไปส่งเสริมการเกษตรโนกานนำพืชพันธุ์ใหม่ๆเข้ามาทดลอง ปลูก เช่นข้าวสาลี
มีการสร้างพิพิธพัณฑ์รวบรวมศิลปะกรีกไ
ว้ในพระราชวัง
สร้างหอสมุดที่ยิ่งใหญ่ทีสุดในยุคโบราณ การกำหนดให้หนึ่งปีมี 365 วัน และทุกๆ 4
ปีจะมี366วัน
อียิปต์เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับจนมาถึง
สมัยฟาโรห์ ์ปโตเลมีที่ 13 กับพระนางคลีโอพัตราที่ 7ซึ่งเป็นช่วงปลายราชวงศ์
อียิปต์ได้ตกเป็นของอาณาจักรโรมันโดย อ็อคเตเวียน(บุตรบุญธรรมของจูเลียส
ซีซ่าร์
)ได้ยกทัพมาบดขยี้อียิปต์ได้ในที่สุด
ครั้นจรรกวรรดิโรมันได้รวม อียิปต์เข้าเป็นดินแดนในที่สุด เมืองอเล็กซานเดรียนับว่ายังเจริญรุ่งเรืองอยู่มากได้เป็นหนึ่งในสามของ ศูนย์
กลาง ของศาสนาคริสต์ ต่อมาเมื่อคศ 7 เมื่อชาวอาหรับเข้ามาแทนที่ชาวโรมันได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุง ไคโร(เมืองหลวงอียิปต์ปัจจุบัน)เมืองอเล็กซานเดรียก็กลายเป็น
เมืองศูนย์กลาง การ
ค้าขายระหว่างซีกโลกตะวันตก และตะวันออก เป็นต้นว่าเครื่องเทศ เครื่องแก้ว
และของฟุ่มเฟือยทั้งหลาย