รอบรู้เรื่องโลก
|
โลกโลก เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม โดยโลกเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยืนยันได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,570 ล้าน (4.57×109) ปีก่อน และหลังจากนั้นไม่นานนัก ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกก็ถือกำเนิดตามมา สิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่ครองโลกในปัจจุบันนี้คือมนุษย์ โลก มีลักษณะเป็นทรงวงรี โดย ในแนวดิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 12,711 กม. ในแนวนอน ยาว 12,755 กม. ต่างกัน 44 กม. มีพื้นน้ำ 3 ส่วน หรือ 71% และมีพื้นดิน 1 ส่วน หรือ 29 % แกนโลกจะเอียง 23.5 องศา สัญลักษณ์ของโลกประกอบด้วยกากบาทที่ล้อมด้วยวงกลม โดยเส้นตั้งและเส้นนอนของกากบาทจะแทนเส้นเมอริเดียนและเส้นศูนย์สูตรตามลำดับ สัญลักษณ์อีกแบบของโลกจะวางกากบาทไว้เหนือวงกลมแทน (ยูนิโคด: ⊕ หรือ ♁) |
|
โครงสร้างและส่วนประกอบของโลก
1. เปลือกโลก (Crust) นับจากผิวโลกถึงระดับเฉลี่ย 30 - 50 กิโลเมตร บริเวณเปลือก ทวีป หรือถึงระดับ 10 - 12 กิโลเมตร ในบริเวณเปลือกrnhoสมุทร มีผิวสัมผัสกั้นความไม่ต่อเนื่องระหว่างชั้นเปลือกโลกกับชั้นเนื้อโลกที่อยู่ข้างล่างเป็นชั้นความไม่ต่อเนื่องที่เรียกว่า “ชั้นความไม่ต่อเนื่องโมโฮโรวิซิก” (Mohorovicic Discontinuity) หรือเรียกโดยย่อว่า ชั้น โมโฮ อยู่ที่ระดับความลึกดังกล่าวข้างต้น โดยเปลี่ยนแปลงไปตามความลึกของเปลือกโลกดังกล่าว
|
|
2. ชั้นเนื้อโลกส่วนบน (Upper Mantle) อยู่ใต้ชั้นเปลือกโลกลงไปถึงระดับ 400 กิโลเมตร พบว่ามีความแปรปรวนทางความเร็วคลื่นไหวสะเทือนอย่างมาก แสดงความไม่เป็นเนื้อเดียวกันอย่างกว้างขวาง (Regional Heterogeneous) ทั้งทางดิ่งและทางราบ พบบริเวณที่ความเร็วคลื่นไหวสะเทือนต่ำ บางช่วงภายในชั้นนี้ ที่ระดับความลึกในช่วง 100 - 250 กิโลเมตร จากผิวโลก |
|
3. ชั้นทรานซิชัน (Transition Zone) อยู่ระหว่างความลึก 400 - 1000 กิโลเมตร สังเกต ได้จากกราฟความเร็วที่มีความชันเพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงว่ามีความเร็วสูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันพบว่าบริเวณที่มีความเร็วคลื่นสูงสุดชัดเจนที่ระดับความลึก 400 และ 650 กิโลเมตร |
|
4. ชั้นเนื้อโลกส่วนล่าง (Lower Mantle) นับจากระดับลึก 1,000 กิโลเมตร ถึง ระดับ
2,900 กิโลเมตร จดจำสังเกตได้จาก ชั้นนี้มีความเร็วคลื่นปานกลาง กราฟความเร็วคลื่นจึงเอียงพอประมาณ และเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แสดงลักษณะเทียบเคียงแล้วค่อนข้างเป็นเนื้อหนึ่งเดียวกัน (Uniform) ยกเว้นที่ระดับ 2,700 และ 2,900 กิโลเมตร อาจพบว่าความเร็วคลื่นลดลงเล็กน้อย บางครั้งเพื่อความสะดวก อาจนับรวมชั้นนี้และชั้นทรานซิชันเข้าด้วยกัน เรียกเป็น “เนื้อโลกระดับลึก” (Deep Mantle) นั่นเอง ชั้นนี้ถูกกั้นออกจากแก่นโลกด้วยผิวสัมผัสกั้นความไม่ต่อเนื่องที่เรียกว่า “ชั้นความไม่ต่อเนื่อง |
|
5. ชั้นแก่นโลก (Core) นับจากระดับ 2,900 กิโลเมตร ลงไปเป็นช่วงที่ปรากฏชั้นความ
ไม่ต่อเนื่องของความเร็วคลื่นไหวสะเทือนเด่นชัดมาก ซึ่งที่ระดับ 2,900 กิโลเมตร นี้ คลื่นปฐมภูมิลดความเร็วลงอย่างฉับพลัน แล้วกลับเพิ่มขึ้นใหม่อีกครั้งขณะที่คลื่นทุติยภูมินั้นหายไป แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ “แก่นโลกส่วนนอก” (Outer Core) และ “แก่นโลกส่วนใน” (Inner Core) โดยแยกกันได้ด้วยรอยไม่ต่อเนื่อง “เลอห์มานน์” (Lehmann Discontinuity) และเนื่องจากคลื่นทุติยภูมิไม่สามารถเดินทางผ่านวัตถุที่เป็นของเหลวได้ การที่ไม่ปรากฏคลื่นทุติยภูมิหลังระดับ 2,900 กิโลเมตร นั้น ทำให้เชื่อได้ว่าแก่นโลกส่วนนอกดังกล่าวควรมีสภาพเป็นของเหลว (Liquid Outer Core) นั่นเอง |