การเลือกระบบวัดแสงกับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์
การเลือกใช้ระบบวัดแสง กับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์

ระบบวัดแสงของกล้องโดยส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 ถึง 3 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
เป็นระบบวัดแสงหลักที่ใช้กันในกล้องแทบจะทุกตัวในปัจจุบัน เนื่องจากมีความสะดวก และคล่องตัวสูง ใช้งานได้ง่ายไม่ซับซ้อนต่อการทำความเข้าใจของผู้ถ่าย โดยเป็นระบบวัดแสงที่เอาพื้นที่ทุกๆส่วนของภาพมาคำนวณค่าแสง
เพื่อหาค่าเฉลี่ยที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพนั้นๆ เป็นระบบวัดแสงหลักที่แนะนำให้ใช้สำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ เพราะสะดวกรวดเร็วและง่ายต่อการใช้งาน
เป็นระบบวัดแสงที่คำนวณค่าแสงโดยหาค่าเฉลี่ยเหมือนกัน แต่จะเป็นการหาค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก คือจะเน้นให้มีความสำคัญกับพื้นที่กึ่งกลางภาพประมาณ 30-40% ของภาพแต่ให้ความสำคัญเป็น 70-80% ของค่าการเฉลี่ยมากกว่าบริเวณโดยรอบ
ดังนั้นระบบวัดแสงแบบนี้จึงเหมาะกับการถ่ายภาพที่มีวัตถุขนาดใหญ่ และอยู่กึ่งกลางภาพพอดีซึ่งเหมาะกับการใช้ระบบวัดแสงแบบนี้ เช่น เป็นระบบวัดแสงที่เหมาะกับการถ่ายภาพบุคคลมากกว่าการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ ยกเว้นการถ่ายภาพดอกไม้ที่มีการจัดวางดอกไม้ไว้ตรงกึ่งกลางภาพอันนี้เหมาะสมที่จะใช้ระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยหนักกลางนี้เช่นกัน
เป็นระบบวัดแสงที่จะคำนวณค่าแสงเฉพาะตรงจุดกึ่งกลางของภาพ หรือเฉพาะส่วน กึ่งกลางของภาพเท่านั้น ถ้าเป็นแบบเฉพาะจุดจะเอาจุดกึ่งกลางเพียงแค่ประมาณ 1-3%ของภาพมาใช้ในการคำนวณเท่านั้น แต่ถ้าเป็นแบบเฉพาะส่วนจะเอาจุดตรงกลางเหมือนกันแต่ขนาดจะใหญ่กว่าแบบเฉพาะจุด คือประมาณ 8-10% ของพื้นที่ทั้งภาพ
ซึ่งการใช้งานระบบวัดแสงแบบนี้ค่อนข้างซับซ้อนจึงเหมาะกับผู้ที่มีความชำนาญแล้วมากกว่า และการใช้งานจะช้ากว่าระบบวัดแสงอื่นๆ เพราะต้องวัดค่าแสงทีละจุดแต่ก็เป็นระบบวัดแสงที่มีประสิทธิภาพในการหาค่าแสงที่ถูกต้อง ถ้าเป็นคนที่มีความชำนาญแล้ว จะมีเวลาเพียงพอจะค่อยๆ วัดแสงไปทีละจุดและมาไตร่ตรองหาค่าแสงที่ถูกต้องซึ่งจะทำงานได้ช้ากว่าระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ
ในแง่ของการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ในเบื้องต้นนี้จึงยังไม่แนะนำให้ใช้ระบบวัดแสงแบบเฉพาะจุดนี้ นอกจากเริ่มมีความชำนาญและเริ่มเข้าใจเรื่องการวัดแสงชดเชยแสง แล้วจึงค่อยหันกลับมาใช้ระบบวัดแสงเฉพาะจุดกันต่อไปได้เมื่อชำนาญมากแล้ว
การเลือกใช้ระบบวัดแสงกับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์
การถ่ายภาพภูเขาและการถ่ายภาพดวงอาทิตย์
วิธีการดูแลรักษากล้องเมื่อนำไปถ่ายภาพที่ทะเล