ความรู้เบื้องเกี่ยวกับทัศนศิลป์
หลักการใช้สี
สีในวงจรสีธรรมชาติ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ สีตัดกันและสีกลมกลืนกันและแบ่งเป็น 2 ซีก คือ สีอุ่น สีเย็น
การใช้สีตัดกันจะทำให้เกิดความขัดแย้งวุ่นวาย แต่ถ้าใช้สีกลมกลืนกันจะเกิดความน่าเบื่อ จืดชืดไป ถ้าใช้สีอุ่นมากไป
ทำให้บรรยากาศร้อน อบอ้าว ถ้าใช้สีวรรณะเย็นมากไปก็จะทำให้บรรยากาศเยือกเย็น จืดชืดว่างเปล่า เราจึงควรเลือกใช้สี
ให้พอเหมาะกับงานแต่ละอย่างตามจุดหมายที่วางไว้ การใช้สีสื่อความหมายต่าง ๆ ทำได้ดังนี้
ความหมายของสี
สีแดง = ตื่นเต้น เร้าใจ อันตราย พลัง อำนาจ รัก สีส้ม = ตื่นตัว ตื่นเต้น เร้าใจ สนุกสนาน
สีเหลือง = สดใส ร่าเริง ฉลาด เปรี้ยว
สีเขียวอ่อน = สดชื่น ร่าเริง เบิกบาน
สีเขียวแก่ = สะอาด ปลอดภัย สดชื่น ธรรมชาติ ชรา
สีน้ำเงิน = สุภาพ เชื่อมั่น หนักแน่น ถ่อมตัว ผู้ชาย
สีฟ้า = ราบรื่น สว่าง วัยรุ่น ทันสมัย สีม่วง = ฟุ่มเฟือย ลึกลับ ขี้เหงา
สีชมพู = ความรัก ผู้หญิง อ่อนหวาน นุ่มนวล หอม
สีขาว = ความบริสุทธิ์ สะอาด ปลอดภัย เด็กทารก
สีดำ = ทุกข์ ลึกลับ สืบสวน หนักแน่น
สีเทา = สุภาพ ขรึม
สีน้ำตาล = อนุรักษ์ โบราณ ธรรมชาติ
รูปร่างและรูปทรง(Shape and Form)
รูปร่าง (Shape) หมายถึง เส้นรอบนอกของวัตถุ คน สัตว์ สิ่งของ มีลักษณะเป็น 2 มิติ (กว้าง ยาว)
รูปทรง (Form) หมายถึง โครงสร้างของรูปวัตถุ คน สัตว์ สิ่งของ มีลักษณะเป็น 3 มิติ (กว้าง ยาว ลึก)รูปร่างและรูปทรง มี 3 ลักษณะ ดังนี้