1.ประวัติของหุ่นยนต์ 2.ประวัติของหุ่นยนต์อาซิโม 3.ประเภทของหุ่นยนต์

1. ประวัติของหุ่นยนต์
หุ่นยนต์ หรือ โรบอต ( robot ) คือ เครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกันหุ่นยต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานด้านต่างๆตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์
ปี ค.ศ. 1940-1950 หุ่นยนต์ชื่อ Alsie the Tortoise ได้ถือกำเนิดขึ้นมาโดย Grey Walter หุ่นยนต์รูปเต่าสร้างจากมอเตอร์ไฟฟ้านำมาประกอบเป็นเครื่องจักร สามารถเคลื่อที่ได้ด้วยล้อทั้ง 3 ต่อมาหุ่นยนต์ชื่อ Shakey ได้ถูกสร้างขึ้นให้สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยเช่นกับ Alsie the Tortoise โดย Standford Rwsearch Institute:SRI แต่มีความสามารถเหนือกว่า คือ มีความคิดเป็นของตนเองโดยที่ Shakey จะมีสัญญาณเซนเซอร์เป็นเครื่องบอกสัญญาณในการเคลื่อนที่ไปมา ซึ่งนอกจากหุ่นยนต์ที่สามรถเคลื่อนที่ไปมาด้วยล้อแล้ว ในปี ค.ศ. 1960 หุ่นยนต์ ชื่อ General Electric Wailing Truch ที่สามรถก้าวเดินได้ด้วยขา มีขนาดโครงสร้างใหญ่โตและหนักถึง 3,000 ปอนด์ สามารถเดินได้วยความเร็ว 4 ไมล์/ชั่วโมง โดยการใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของขา General Electic Walk Truck ได้รับการพัฒนาโครงสร้างและศักยภาพโดยวิศวกรประจำบริษัท General Electric ชื่อ Ralph Moser
2. ประวัติของหุ่นยนต์อาซิโม
อาซิโม ( Asimo ) คือ หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ หรือหุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของบริษัทฮอนด้า ประเทศญี่ปุ่น สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 31ตุลาคม พ.ศ. 2549
โดยพัฒนาจากหุ่นยนต์ทดลองและหุ่นยนต์ต้นแบบ จนทำให้มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เทคโนโลยี i-walk ช่วยให้อาซิโมสามารถเดินและวิ่งได้อย่างอิสระ ขึ้นบันไดและเต้นรำได้
มีระบบบันทึกเสียงเพื่อตอบสนองคำสั่งมนุษย์ สามรถจดจำใบหน้าคู่สนทนาได้อย่างแม่นยำ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวถูกสร้างขึ้น เพื่อให้อาซิดมมีขีดความสามรถรอบด้าน และรองรับความต้องการของมนุษย์ในอนาคต
บริษัทฮอนด้าได้ให้คำนอยามของชื่อ ASIMO ว่าย่อมาจาก Advanced Step in lnnovative Mobility หมายถึง นวัตกรรมแห่งการเคลื่อนที่อันล้ำสมัย ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับชื่อสกุลของไอแซค อสิมอฟ นักวิทยาศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ชื่อดังแต่อย่างใด
ทีมวิศวกรเริ่มต้นคิดค้น พัฒนาศึกษาวิจัยหุ่นฮิวแมนนอยด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 โดยเริ่มจากการก่อสร้างหุ่นยนต์ต้นแบบ พีทู ( P2 )ในปี พ.ศ. 2539 และต่อด้วยหุ่นยนต์ต้นแบบ พีทรี ( P3 ) ในปีพ.ศ. 2540 จนกระท่งมาถึงหุ่นยนต์อาซิโมในปี พ.ศ. 2543
เว็บไซต์ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=11-2010&date=18&group=58&gblog=19
3.ประเภทของหุ่นยนต์
ประเภทของหุ่นยนต์ สามารถแบ่งแยกได้หลากหลายรูปแบบ หลายประเภทตามแต่ลักษณะเฉพาะของการใช้งาน ซึ่งการแบ่งประเภทของหุ่นยนต์ มักแบ่งตามการใช้งาน สามารถแบ่งได้ ดังนี้
1. หุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่
สามารถเคลื่อนไหวไปมาแต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้หุ่นยนต์ประเภทนี้ ได้แก่ แขนกลของหุ่นยนต์ที่ใช้ในงานด้าน อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น งานด้านอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ แขนกลที่ในด้านการแพทย์ เช่น แขนกลที่ใช้ในการผ่าตัด หุ่นยนต์ประเภทนี้ จะมรลักษณะโครงสร้างที่ใหญ่โต เทอะทะและมีน้ำหนักมาก ใช้พลังงานในการเคลื่อนไหวได้จากแหล่งจ่ายพลังงานภายนอก และจะมี การกำหนดขอบเขตการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์เอาไว้ ทำให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนไหวไปมาได้ในเฉพาะที่ที่กำนดเอาไว้เท่านั้น
2. หุ่นยนต์ทีสามรถเคลื่อนไหวร่างกายไปมาได้อย่างอิสระ
หมายความถึง หุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนย้ายตัวเองจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งได้อย่างอิสระ หรือมีการ เคลื่อนที่ไปมาในสถานที่ต่างๆ เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในการสำรวจดวงจันทร์ของนาซ่า หุ่นยนต์สำรวจใต้พิภพหรือหุ่นยนต์ที่ใช้ในการขน ถ่าย สินค้าซึ่งหุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนไหวได้นี้ถูกออกแบบลักษณะของโครงสร้างให้มีขนาดเล็กและมีระบบเคลื่อนที่ไปมา รวมทั้งมีแหล่ง จ่ายพลังงานสำรองภายในร่างกายของตนเอง แตกต่างจากหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้ ซึ่งต้องมีแหล่งจ่ายพลังงานอยู่ ภายนอก
เว็บไซต์ http://pirun.ku.ac.th/~b5013409/page2.html